การสื่อสารระหว่าพ่อแม่และวัยรุ่น

การสื่อสารระหว่าพ่อแม่และวัยรุ่น

การสื่อสารระหว่าพ่อแม่และวัยรุ่น วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีความเปลี่ยนแปลง และความซับซ้อนในหลายด้าน วิธีสื่อสารที่พ่อแม่เคยใช้กับลูกเมื่อยังเป็นเด็กอาจไม่ได้ผลอีกต่อไป เพราะหากสื่อสารไม่ถูกวิธี ก็อาจทำให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์

และการใช้ชีวิตของในช่วงวัยรุ่น ของลูกตามมา พ่อแม่จึงควรเรียนรู้ และศึกษาวิธีการสื่อสารให้เหมาะสมกับช่วงวัย วัยรุ่นหรือเด็กในช่วงอายุ 10-19 ปี เป็นช่วงแห่งการเปลี่ยนผ่านระหว่างการเติบโตจากเด็กเพื่อก้าวไปเป็นผู้ใหญ่ โดยในช่วงวัยนี้จะเกิดความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย

ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมรอบตัว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ล้วนมีกระทบต่อตัววัยรุ่น ทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมวัยรุ่นจึงเป็นช่วงวัยที่มีความสร้างสรรค์ และดุดันได้ในเวลาเดียวกัน

ทำไมการสื่อสารกับวัยรุ่นจึงสำคัญ

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่นส่งผลให้ร่างกายเติบโต มีอารมณ์อ่อนไหวและรุนแรงในแบบที่แม้แต่ตัวเด็ก เองก็อาจไม่เข้าใจ การสื่อสารที่ไม่เหมาะกับช่วงวัย ก็อาจทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวแย่ลง

และเพิ่มระยะห่างมากขึ้น ยิ่งถ้าเกิดการโต้ตอบกันด้วยอารมณ์ ที่ไม่เข้าใจหรือลงโทษอย่างรุนแรง ก็อาจทำให้เกิดบาดแผลในใจ หากปล่อยทิ้งไว้ อาจส่งผลต่อการเรียน เกิดพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้น หรือนำไปสู่การใช้ยาเสพติด แต่ในทางกลับกัน

หากมีวิธีการสื่อสารที่เหมาะ กับพฤติกรรม และช่วงวัยก็อาจทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัว ดี ยิ่งขึ้น ทุกฝ่ายเกิดความเข้าใจ ในความคิดและความรู้สึก ของกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดพฤติกรรม ที่เหมาะสมกับช่วงวัย และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

สื่อสารกับวัยรุ่นอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

การสื่อสารกับคนช่วงวัยนี้ ไม่เพียงแค่ให้ข้อมูล แต่ควรบอกถึงเจตนา และเลือกวิธีการสื่อสารอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจส่งผลดี ต่อความสัมพันธ์มากขึ้น โดยเทคนิคในการสื่อสาร กับเด็กวัยรุ่นมีดังนี้

การสื่อสารระหว่าพ่อแม่และวัยรุ่น
  • ไม่ใช้อารมณ์ในการสื่อสาร
    แม้ว่าการควบคุมอารมณ์ขณะพูดคุย เรื่องบางเรื่องอาจเป็นสิ่งที่ยาก แต่การใช้อารมณ์นั้นมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึก และประสิทธิภาพในการสื่อสารเป็นอย่างมาก

    โดยเด็กบางคนอาจรู้สึกเศร้าหรือสะเทือนใจ แต่บางคนอาจโต้ตอบด้วยอารมณ์ที่รุนแรงและก้าวร้าว สุดท้ายแล้ว ปัญหานั้นก็อาจไม่ได้ข้อสรุปหรือถูกแก้ไข
  • พูดให้สั้นและได้ใจความ การโดนบ่นเป็นเวลานาน หรือการพูดเรื่องต่าง ๆ ซ้ำไปซ้ำมา อาจทำให้เด็กเกิดความรู้สึกไม่อยากฟังและปิดกั้น เพราะวัยรุ่นมักไม่ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ

    แม้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นสำคัญ ที่พ่อแม่อยากย้ำ เพื่อให้ลูกเข้าใจ แต่หากต้องการให้เด็กเข้าใจจุดประสงค์ของการพูดคุย พ่อแม่ควรพูดให้กระชับ ตรงประเด็น และไม่ยืดเยื้อ
  • เปลี่ยนการสอนเป็นการพูดคุย โดยส่วนใหญ่ การพร่ำสอน หรือป้อนข้อมูลให้กับวัยรุ่นเพียงทางเดียว อาจทำให้เด็กรู้สึกเบื่อ และพยายามที่จะไม่รับรู้

    แต่การพูดคุยนั้น เป็นการแลกเปลี่ยนความคิด ของทั้งสองฝ่าย ซึ่งอาจสร้างความเข้าใจในมุมมอง ความคิด และปัญหาต่าง ๆ ได้ดีกว่าการสอนแบบเดิม
  • อย่าเริ่มต้นด้วยการกล่าวหา การเริ่มต้นบทสนทนา ด้วยการกล่าวหาอาจเป็นการเริ่มต้นที่ไม่ดีนัก เพราะตัวเด็กเอง อาจรู้สึกอึดอัดจากการถูกกล่าวหา แม้ว่าตนเองไม่ได้ทำก็ตาม
  • ใช้หลัก I messageI message เป็นการสื่อสารผ่านมุมมองของตัวผู้พูด มากกว่าการพูดถึงพฤติกรรมของผู้สนทนา เช่น แม่รู้สึกเป็นห่วงเกี่ยวกับผลการเรียนของลูก แทนการพูดว่า ทำไมผลการเรียนของลูกไม่ดี
  • เคารพความคิดเห็นของลูก วัยรุ่นเป็นวัยที่มีอิสระ มีความคิด และความต้องการเป็นของตนเอง แม้ว่าบางทีอาจขัดต่อแนวทาง หรือแนวคิดที่พ่อแม่อยากให้เป็น

    แต่การคัดค้านหรือห้ามความคิด รวมถึงความไม่เชื่อใจในคำพูดอาจส่งผลให้เด็กไม่กล้าแสดงออกถึงความต้องการที่แท้จริง ผู้ปกครองจึงควรพยายามทำความเข้าใจในมุมมองของลูก
  • พูดให้เกียรติ ด้วยความใกล้ชิดของความเป็นครอบครัว อาจทำให้เกิดความรู้สึกเคยชินในการแสดงออกด้วยการใช้คำสั่ง หรือการสอนมากกว่าการพูดคุยแม้ว่าจะเป็นเรื่องทั่วไป ซึ่งการสื่อสารแบบนี้

    อาจส่งผลต่อความรู้สึกของเด็กมากกว่าการสร้างความเข้าใจ โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าให้ลองพูดคุยกับลูกให้เหมือนกับพูดคุยกับคนอื่น ๆ ที่แสดงถึงการให้เกียรติกัน ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรืออารมณ์ที่แสดงออกมา
  • รับฟังและเรียนรู้อย่างเปิดใจ บางครอบครัวอาจมีระยะห่างของความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างมาก การพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวของกันและกันอาจเป็นเรื่องยาก

    แต่การถามไถ่ถึงเรื่องทั่วไปหรือสิ่งที่เขาสนใจอยู่บ่อย ๆ อาจทำให้เด็กเปิดใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังอาจช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น
  • ให้เวลาในการทบทวนเ รื่องบางเรื่องอาจเป็นประเด็น ที่อ่อนไหวต่อตัววัยรุ่น การคาดคั้น หรือเร่งรัดเอาคำตอบอาจสร้างแรงกดดัน และไม่ได้การตอบรับจากเด็ก จึงควรให้เวลาในการทบทวนความคิด และการกระทำในเรื่องต่าง ๆ เพื่อนำมาอธิบายในการพูดคุยครั้งถัดไป
  • รอจังหวะที่เหมาะสม จังหวะและเวลาในการสนทนาเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้วิธีในการสื่อสาร โดยพ่อแม่อาจเลือกช่วงเวลาที่ทั้ง 2 ฝ่ายไม่มีเรื่องกังวลใจหรือความรู้สึกหงุดหงิด และเป็นช่วงเวลาไม่เร่งรีบ ซึ่งอาจช่วยให้การสื่อสารไม่ถูกรบกวนจากอารมณ์ส่วนตัวหรือเวลา
  • ทำกิจกรรมระหว่างการพูดคุย ผู้เชี่ยวชาญในการสื่อสารกับวัยรุ่นแนะนำว่า การนั่งพูดคุยจ้องตากัน โดยไม่ขยับไปไหนเป็นบรรยากาศที่ไม่เหมาะกับการสื่อสาร เพราะอาจส่งผลต่ออารมณ์ทั้งสองฝ่าย

    จึงควรหลีกเลี่ยงการพูดคุยในลักษณะดังกล่าว โดยอาจจะเปลี่ยนมาเป็นการพูดคุยกันระหว่างเดินเล่น ขับรถ หรือกิจกรรมอื่น เพื่อเลี่ยงการสบตา และช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหว ทำให้ไม่เกิดรู้สึกอึดอัดหรือเครียดจนเกินไป
  • พูดคุยหลังมื้ออาหาร ความหิวอาจก่อให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิดโดยไม่รู้ตัว ก่อนการพูดคุยเรื่องราวที่จริงจัง ควรรับประทานอาหารเพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาวะปกติ โดยวิธีนี้สามารถใช้ได้กับทั้งสองฝ่าย แม้ว่าอาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็อาจช่วยให้การพูดคุยนั้นราบรื่นขึ้น

นอกจากการสื่อสารแล้ว ยังมีอีกหลายวิธีที่อาจช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปกครองและเด็ก เช่น สนับสนุนในกิจกรรมที่ลูกมีความสนใจ ยอมรับในตัวตนที่เด็กเป็นพร้อมให้คำแนะนำที่ดีอยู่เสมอ อย่าเร่งรัดหรือกดดันมากเกินไป

ตั้งกฎอย่างสมเหตุสมผล หรือเข้าไปมีส่วนร่วมกับลูกในด้านต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากพ่อแม่มีปัญหาในการสื่อสารกับลูกที่เป็นวัยรุ่น สามารถปรึกษานักจิตวิทยาเด็กหรือคุณครูของเด็กเพื่อขอคำแนะนำ ซึ่งอาจช่วยให้ความสัมพันธ์นั้นราบรื่นขึ้น

ติดตามเรื่องราว วิธีที่ทำให้มีลูกง่ายขึ้น สำหรับคู่รัก

สนับสนุนโดย แทงบอล บาคาร่า PG SLOT

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *