กินรสเค็ม อันตรายกว่าที่คิด

กินรสเค็ม อันตรายกว่าที่คิด

กินรสเค็ม อันตรายกว่าที่คิด รสชาติที่จัดจ้านของอาหารไทยนั้น เป็นหนึ่งเอกลักษณ์ที่ต่างชาติชื่นชอบ แม้ว่ารสชาติเหล่านี้ จะสร้างรสสัมผัสที่ดี ให้กับอาหาร รวมถึงสร้างความสุข ให้กับผู้กิน แต่การกินอาหารรสจัดเป็นประจำ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ความเค็มนั้น เกิดจากโซเดียม ซึ่งเป็นสารที่มีผลต่อความดันโลหิต

และการกักเก็บน้ำภายในร่างกาย จึงเป็นสิ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้ แต่การกินอาหารที่มีรสชาติเค็มจัดเป็นประจำ อาจทำให้ร่างกายได้โซเดียมมากเกินไป และอาจนำไปสู่ความผิดปกติ และโรคที่ร้ายแรง

กินรสเค็ม อันตรายกว่าที่คิด

โดยโรคเหล่านี้ อาจป้องกันได้ด้วยการควบคุมปริมาณโซเดียม ในแต่ละวัน และถ้าหากว่าคุณ หรือคนรอบข้างมีพฤติกรรมกินเค็ม เคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ จากบทความนี้อาจช่วยคุณได้

กินเค็มอย่างพอดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย

อย่างที่ได้กล่าวไปว่า โซเดียมนั้นเป็นสารอาหาร ที่จำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากโซเดียมเป็นเกลือแร่ ช่วยในกระบวนการที่สำคัญ ของร่างกาย มีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำรอบ ๆ เซลล์และเนื้อเยื่อภายในร่างกาย

บางกรณี จะพบว่าแพทย์ใช้โซเดียม รักษาผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากมีส่วนช่วยให้เพิ่มระดับความดันโลหิต ดังนั้น การกินเค็ม และการบริโภคโซเดียมอย่างเหมาะสม จึงมีส่วนช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้อย่างปกติ

กินเค็มมากเกินไปอาจเสี่ยงโรค

มีโรคและความผิดปกติหลายอย่าง ที่อาจมีสาเหตุจากการกินเค็ม จากการสำรวจประชากรไทยนั้น ประสบกับภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรง หลายโรคกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนประชากร ในวัยผู้ใหญ่ หรือกว่า 10 ล้านคน และยังพบผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง กว่า 8 ล้านคนอีกด้วย โดยโรคอื่น ๆ ที่อาจเกิดจากการกินเค็ม ดังนี้

โรคไต การได้รับโซเดียมปริมาณมากอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้นจากการกำจัดโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคไต

โรคกระดูกพรุน โซเดียมที่มากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายนั้นขับแคลเซียมที่จำเป็นต่อการสร้างและคงความแข็งแรงของกระดูกออกไปทางปัสสาวะมากยิ่งขึ้น จึงอาจทำให้กระดูกบาง เสี่ยงต่อภาวะเปราะหักง่ายขึ้น รวมถึงอาจเป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุน

โรคหลอดเลือดหัวใจ ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยเพิ่มความดันโลหิตของโซเดียมอาจส่งผลให้หลอดเลือดและหัวใจนั้นทำงานหนักมากยิ่งขึ้น จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

Green Papaya Salad – Som Tum – Thai style food

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มีงานวิจัยที่พบว่าเกลือนั้นอาจช่วยให้แบคทีเรียในท้องเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมทั้งสร้างความเสียหายให้กับเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งชนิดนี้

อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากหลายการศึกษาเท่านั้น และในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงว่าเกลือนั้นเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้อย่างไร

นอกจากนี้ แม้ว่าโรคที่เกิดจากการกินเค็ม อาจเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ก็มีคนบางกลุ่มอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติ จากการกินโซเดียมมากกว่าคนทั่วไป เช่น ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง และผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ การลดพฤติกรรมกินเค็มจึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคและความผิดปกติเหล่านี้ได้

เทคนิคลดการกินเค็ม สร้างสุขภาพ

การลดพฤติกรรมกินเค็มอาจส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งวิธีที่จะช่วยลดการได้รับโซเดียมนั้นสามารถทำได้ไม่ยาก ดังนี้

  • อ่านฉลากอาหาร และเลือกซื้ออาหารที่มีโซเดียมต่ำ
  • กินอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงแทนอย่างมันฝรั่ง มันหวาน กล้วย แคนตาลูป หรือผักปวยเล้ง เนื่องจากโพแทสเซียมอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ร่วมถึงอัตรายการเสียชีวิตจากโรคเหล่านี้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคไตหรือผู้ที่กำลังใช้ยารักษาโรคบางโรค ควรระมัดระวังการได้รับโพแทสเซียมเกินจากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน
  • ใช้สมุนไพรและเครื่องเทศแทนเกลือเมื่อปรุงอาหาร เช่น กระเทียม ยี่หร่า พริก และใบมะกรูด เป็นต้น
  • ลดการเติมเครื่องปรุงที่มีโซเดียม เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม และผงชูรส เป็นต้น รวมถึงรับประทานอาหารที่มีน้ำจิ้มเคียง
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารแปรรูปไม่ว่าเป็นอาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง ไส้กรอก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลาร้า ซึ่งควรเปลี่ยนไปกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุขใหม่จะได้ประโยชน์จากสารอาหารมากกว่า
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด
  • หลีกเลี่ยงอาหารขยะหรืออาหารฟาสต์ฟู้ด เนื่องจากมีโซเดียมและไขมันทรานส์ในปริมาณสูง
  • หลีกเลี่ยงขนมขบเคี้ยว รวมถึงขนมอบที่มีการใส่ผงฟู เนื่องจากมีปริมาณโซเดียมสูง

โดยปกติ คนทั่วไปไม่ควรได้รับโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งจากการรับประทานอาหารมื้อร่างกายอาจได้รับโซเเพียงพอแล้ว จึงควรระมัดระวังอาหารมื้อย่อย หรือขนมที่อาจทำให้ได้รับโซเดียมเกินในแต่ละวัน โดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติที่ควรไปพบแพทย์เพื่อสอบถามถึงปริมาณอาหารที่ควรควบคุมในแต่ละวัน

ติดตามเรื่องราว ผลเสียของการนอนดึก

สนับสนุน โดย Joker SlotSa gameSexy GameJoker GameUFABET 72EsportSa gamingSexy gaming, Sa gamingjoker gaming, Joker slot , Slot gameJoker slot, Joker slot

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น