ของไหว้และวิธีไหว้ ในวันตรุษจีน

ของไหว้และวิธีไหว้ ในวันตรุษจีน

ของไหว้และวิธีไหว้ ในวันตรุษจีน แบ่งการไหว้ออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงเช้ามืด คือ การไหว้เทพเจ้าต่าง ๆ ด้วยเครื่องไหว้ที่เป็นเนื้อสัตว์ 3 อย่าง คือ หมูสามชั้นต้ม ไก่ต้ม เป็ดต้ม พร้อมทั้งเหล้า น้ำชา และกระดาษเงิน-กระดาษทอง โดยจะกระทำในช่วง 7-8 โมงเช้

ช่วงสาย คือ การไหว้บรรพบุรุษที่เสียชีวิตแล้ว ด้วยซาแซ อาหารคาว-หวาน รวมถึงเผากระดาษเงิน-กระดาษทอง พร้อมเสื้อผ้าให้กับบรรพบุรุษ กระทำไม่เกินเที่ยงวัน  นอกจากนี้หลังจากที่ทุกคนในครอบครัวร่วมรับประทานอาหารไหว้บรรพบุรุษเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการแลกเปลี่ยนอั่งเปากันอีกด้วย
 

ช่วงบ่าย คือ การไหว้ผีไม่มีญาติ ด้วยข้าว กับข้าว ขนม เช่น ขนมเข่งกับขนมเทียน และกระดาษเงิน-กระดาษทอง รวมถึงมีการจุดประทัดเพื่อปัดเป่าไล่สิ่งชั่วร้ายด้วย (ประมาณบ่ายโมงถึง 4 โมงเย็น)

วิธีจัดโต๊ะไหว้ตรุษจีน

วิธีจัดโต๊ะไหว้ในวันตรุษจีนส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมาในแต่ละครอบครัว ไม่ได้มีแบบแผนชัดเจน จึงอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทว่าอย่างไรโครงสร้างหลักก็จะคล้าย ๆ กัน ดังต่อไปนี้

  1. วางโต๊ะไหว้ไว้หน้าเทวรูปหรือแท่นบูชา
     
  2. วางกระถางธูปไว้ด้านในสุดของโต๊ะ จัดให้อยู่หน้าเทวรูปหรือแท่นบูชาพอดี ซึ่งบางบ้านอาจจะปักกิมฮวยเอาไว้ในกระถางธูปด้วย
     
  3. วางเชิงเทียนคู่ขนาบข้างซ้าย-ขวา ของกระถางธูป
     
  4. วางโถกำยานไว้ด้านหน้าของกระถางธูป
     
  5. วางแจกันดอกไม้ขนาบข้างซ้าย-ขวา ของโถกำยาน แต่อย่าให้บังเชิงเทียนคู่ กรณีที่บ้านไหนไม่มีโถกำยาน ให้วางแจกันดอกไม้ขนาบข้างซ้าย-ขวา ของเชิงเทียนคู่แทน
     
  6. วางถ้วยน้ำดื่มไว้ด้านหน้าโถกำยาน
     
  7. วางถ้วยน้ำชาและถ้วยเหล้าไว้ด้านหน้าถ้วยน้ำดื่ม ทั้งนี้ จำนวนถ้วยน้ำดื่มต้องเท่ากับถ้วยน้ำชาและถ้วยเหล้าเสมอ โดยส่วนใหญ่จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนบรรพบุรุษ แต่จำกัดสูงสุดอยู่ที่ไม่เกิน 5 ถ้วย
     
  8. วางเครื่องคาวหรือกับข้าวไว้ด้านหน้าถ้วยน้ำชาและถ้วยเหล้า ให้เลือกที่เป็นมงคล 5 อย่าง หรือไม่เกิน 10 อย่าง รวมถึงข้าวสวย 2 ถ้วย แบบตักให้พูนถ้วยด้วย
     
  9. วางเนื้อสัตว์ 3 อย่าง (ซาแซ) หรือเนื้อสัตว์ 5 อย่าง (โหงวแซ) ไว้ด้านหน้าของเครื่องคาว จัดวางให้หันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน
     
  10. วางเครื่องหวานและผลไม้หน้าเนื้อสัตว์ ให้เลือกที่เป็นมงคล 3 อย่าง หรือ 5 อย่าง ทั้งนี้ จำนวนเครื่องคาวต้องเท่ากับเครื่องหวานและผลไม้เสมอ แต่ไม่จำเป็นต้องเท่ากับจำนวนถ้วยน้ำดื่ม ถ้วยน้ำชา และถ้วยเหล้าก็ได้
     
  11. วางกระดาษเงิน-กระดาษทองเป็นลำดับสุดท้าย

ความหมายของไหว้ตรุษจีน

ของไหว้และวิธีไหว้ ในวันตรุษจีน

วิธีการเลือกเครื่องไหว้ ของไหว้ สำหรับวันตรุษจีน ควรเลือกให้มีชื่อหรือความหมายที่เป็นมงคล ตัวอย่างเช่น

อาหาร

  • หมู หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์
  • เป็ด หมายถึง ความบริสุทธิ์และความสะอาด
  • ไก่ หมายถึง ความขยันขันแข็งและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ถ้าหากเป็นไก่เต็มตัว หมายถึง ความสมบูรณ์
  • ปลา หมายถึง เหลือกินเหลือใช้ อุดมสมบูรณ์
  • ปลาหมึก หมายถึง เหลือกินเหลือใช้ (เหมือนปลา)
  • ถั่วตัด หมายถึง แท่งเงิน
  • เม็ดบัว หมายถึง การมีลูกชายจำนวนมาก
  • หน่อไม้ หมายถึง การอวยพรให้ร่ำรวย
  • สาหร่ายทะเลสีดำ หมายถึง ความมั่งคั่งร่ำรวย
  • บะหมี่ยาว หมี่ซั่ว หรือฉางโซ่วเมี่ยน หมายถึง อายุยืนยาว

ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงเต้าหู้ขาวอย่างเด็ดขาด เพราะว่าสีขาวถือเป็นสีสำหรับงานโศกเศร้า

ผลไม้

  • กล้วย หมายถึง เรียกโชคลาภ ลูกหลานเต็มบ้านเต็มเมือง
  • องุ่น หมายถึง ความเพิ่มพูน
  • สาลี่ หมายถึง โชคลาภมาถึง (แต่ไม่นิยมใช้ไหว้บรรพบุรุษและผีไม่มีญาติ)
  • แอปเปิล หมายถึง ความสันติสุข สันติภาพ
  • ส้มสีทอง หมายถึง ความสวัสดีมหามงคล
  • สับปะรด หมายถึง มีโชคมาหา

ขนมหวาน

  • ขนมเข่ง หมายถึง ความหวานชื่น ราบรื่นในชีวิต
  • ขนมเทียน หมายถึง ความหวานชื่นและความราบรื่น
  • ขนมไข่ หมายถึง ความเจริญเติบโต
  • ขนมถ้วยฟู หมายถึง ความเพิ่มพูนรุ่งเรือง
  • ขนมสาลี่ หมายถึง ความรุ่งเรืองและความเฟื่องฟู
  • ซาลาเปา หรือหมั่นโถว หมายถึง ห่อโชคหรือโชคดี
  • จันอับ (จั๋งอั๊บ) หมายถึง ความหวานที่เพิ่มพูน มีความสุขตลอดไป

ติดตามเรื่องราว สิ่งที่ห้ามทำใน วันตรุษจีน

สนับสนุนโดย แทงบอล บาคาร่า PG SLOT

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *