ข้อเสียและอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า
ข้อเสียและอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า
ข้อเสียและอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า จากที่ผ่านมา เราได้พูดถึงบุรี่ไฟฟ้าคืออะไร สามารถทดแทนบุหรี่จริงได้หรือไม่ มีนิโคตินเหมืนลอนบุหรี่รึเปล่า ในวันนี้เราจะมาพูดถึงอันตรายที่เกิดจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้ากัน ว่ามีอะไรบ้าง อยู่ในไทยถูกกฎหมายหรือไม่ เราควร หรือไม่ควรสูบ ไปดูกัน
1. เสพติดสารนิโคตินเหลวในบุหรี่ไฟฟ้า มีอำนาจเสพติดสูงเทียบเท่าเฮโรอีน
มีผลกระตุ้นสมอง หัวใจ ทำให้เส้นเลือดหดตัว ความดันโลหิตสูงขึ้น และเสี่ยงต่อโรคมะเร็งระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังมีสารอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
2. ค่าใช้จ่ายเริ่มแรกสูงมาก
โดยจะเป็นค่าอุปกรณ์ ที่ใช้ในการสูบบุหรี่ไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่ จะอยู่ที่หลักพันบาทจนถึงหลายพันบาท ขึ้นอยู่กับการจัดชุด และคุณภาพของอุปกรณ์ด้วย
3. เมื่อสูบบุหรี่ไฟฟ้าแรก ๆ อาจมีอาการแสบคอ
เมื่อใช้ไปได้ประมาณ 5 วัน ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเกิดความเคยชิน และสามารถสูบได้ตามปกติโดยไม่มีอาการแสบคอ

4. ความเคยชินกับการสูบบุหรี่แบบเดิม ๆ
เมื่อเปลี่ยนมาเป็นบุหรี่ไฟฟ้า อาจเกิดความรู้สึกแปลก ๆ ดังนั้น ในช่วงแรกจึงอาจมีอาการอยากบุหรี่แบบเดิม จึงต้องใช้ความอดทนพอสมควร จนกว่าจะเกิดความเคยชิน กับการสูบบุหรี่แบบใหม่
5. ต้องมีการบำรุงรักษาเป็นประจำ
เพื่อให้อุปกรณ์สูบบุหรี่ไฟฟ้า สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน และคุ้มค่า ส่วนใหญ่จะนิยมถอดมาล้างทุก ๆ 2 – 3 อาทิตย์ และเปลี่ยนหัวอะตอมทุก 1 ถึง 2 เดือน ส่วนนิโคตินเหลวที่บรรจุในขวด หากเก็บรักษาไม่ดี หรือเก็บไว้นาน อาจจะมีเชื้อรา ทำให้ผู้สูบรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายเวลาสูบ
6. บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยลดการสูบบุหรี่ธรรมดาลงเลย
และอาจเพิ่มอัตราการสูบบุหรี่ ให้คนที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาสูบบุหรี่มากขึ้น
7. บุหรี่ไฟฟ้าก่อให้เกิด PM 2.5 สูงถึง 19,972 ไม่โครกรัม/มิลลิลิตร ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด และเส้นเลือดสมองตีบ
บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมายหรือไม่
บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสินค้า ที่ไม่เสียภาษีของประเทศไทย แต่เป็นสินค้าต้องห้าม ในการนำเข้าสู่ราชอาณาจักรกล่าวคือ ห้ามนำเข้า ห้ามขาย ห้ามให้บริการ ซึ่งไม่มีกฎหมาย ห้ามครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า
สาเหตุที่ห้ามครอบครองนั้น เป็นเพราะว่าบุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าไม่เสียภาษี ฉะนั้นการครอบครองสินค้าที่ไม่เสียภาษี มีความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 หากฝ่าฝืน จำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท

อ้างอิงจริงพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2559 ตามลำดับ
- มาตรา 27 ทวิ ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจําหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจํานํา หรือรับไว้โดยประการใดอันตนรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีหรือของต้องจํากัด หรือของต้องห้าม หรือที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องก็ดี หรือเป็นของที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อจํากัด หรือข้อห้ามอันเกี่ยวแก่ของนั้นก็ดี มีความผิดต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจําทั้งปรับ
- ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง สินค้าต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 ข้อ 3 ให้สินค้าตามบัญชีท้ายประกาศนี้เป็นสินค้าต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า
ตามข้อกฎหมายแล้ว การมีบุหรี่ไฟฟ้า ไว้ในครอบครอง ถือว่าผิดกฎหมายเช่นเดียวกับการขับรถผ่าไฟแดง ขี่จักรยานยนต์ ไม่สวมหมวกกันน็อค จอดรถในที่ห้ามจอด และอื่น ๆ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่สามารถจับกุมได้ ในทุกกรณีด้วยปัจจัย และเงื่อนไขต่าง ๆ
ดังนั้น ถ้าหากไม่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้ามาก่อน ก็ไม่แนะนำให้ลอง เพราะทั้งผิดกฎหมาย และไม่สามารถตอบได้ด้วยว่า ทำให้เลิกบุหรี่จริงได้จริงหรือ รวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้า ปลอดภัยต่อร่างกายจริงหรือไม่ เราอย่าสูบดีกว่า
ติดตามเรื่องราว บุหรี่ไฟฟ้าทดแทนบุหรี่จริง
สนับสนุนโดย Joker Slot, Sa game, Sexy Game, Joker Game, UFABET 72, Esport, Sa gaming, Sexy gaming, Sa gaming, joker gaming, Joker slot , Slot game, Joker slot, Joker slot