ความแตกต่างของกาแฟ
ความแตกต่างของกาแฟ ในแต่ละที่
ความแตกต่างของกาแฟ ตอนเช้าวันทำงานอันแสนวุ่นวาย มนุษย์ออฟฟิศส่วนใหญ่มักจะปลุกตัวเองให้ตื่นเต็มตาด้วย “กาแฟ” สักแก้วหนึ่ง ก่อนไปลุยงานให้ได้เต็มที่ บางคนดื่มกาแฟแทนมื้อเช้าด้วยซ้ำ รวมถึง “สาวออฟฟิศ” เองก็ดื่มกาแฟกันแทบทุกวัน เรียกว่ามีกาแฟอยู่ในสายเลือดกันจริงๆ
ทำไมเจ้าเครื่องดื่มสีดำ รสขม กลิ่นหอมอย่าง “กาแฟ” ถึงได้ถูกใจหนุ่มสาวออฟฟิศทั่วโลกได้ขนาดนี้? ลองมาไล่เรียงกันดูตั้งแต่กาแฟชื่อดังของบราซิล กาแฟลาตินอเมริกา กาแฟขี้ชะมดของอินโดฯ กาแฟขี้ช้าง และล่าสุดกับ…“กาแฟขี้ควาย” กาแฟชื่อดังตัวใหม่ของประเทศไทย
เครื่องดื่มสีดำ รสขม หอมกรุ่น
“กาแฟ” เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากผลของต้นกาแฟ ภายในผลกาแฟก็จะมีเมล็ดซ่อนอยู่ 2 เมล็ด ต้นกาแฟเป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบขนาดเล็กในตระกูล Coffea โดยมีหลากหลายสปีชีส์ด้วยกัน
สายพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด ได้แก่ กาแฟอาราบิก้า ที่ให้กลิ่มหอมกรุ่นติดจมูก แต่มีรสชาติไม่ค่อยเข้ม และกาแฟโรบัสต้า ที่ให้รสชาติเข้มข้นกว่า มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ปัจจุบันมีการปลูกต้นกาแฟมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก โดยผลกาแฟเขียวหรือกาแฟซึ่งยังไม่ผ่านการบ่มและคั่ว เป็นหนึ่งในสินค้าทางการเกษตรที่มีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก
สายพันธุ์กาแฟทั้งอาราบิก้าและโรบัสต้ามีการปลูกในลาตินอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปแอฟริกา เมื่อสุกแล้ว ผลดังกล่าวจะถูกเก็บรวบรวมนำไปผ่านกรรมวิธีและทำให้แห้ง หลังจากนั้นเมล็ดจะถูกคั่วในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรสชาติที่ต้องการ และจะถูกบดและบ่มเพื่อผลิตกาแฟ

การเดินทางของ “กาแฟ”
มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกว่า การดื่มกาแฟได้ปรากฏขึ้นราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 ณ วิหารซูฟี ประเทศเยเมน ซึ่งตั้งอยู่ในแถบอาระเบีย ซึ่งถือเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้และเก่าแก่ที่สุด ซึ่งช่วงเวลานั้นผู้คนก็เริ่มปลูกต้นกาแฟขึ้นมาในยุคแรก และแพร่ขยายออกไปในโลกอาหรับ
กาแฟได้แพร่ขยายไปยังทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในระหว่างที่กาแฟเดินทางจากทวีปอเมริกาเหนือสู่ทวีปยุโรป กาแฟได้ถูกส่งผ่านไปยังซิซิลีและอิตาลีในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากนั้นผ่านตุรกี ไปยังกรีซ ฮังการี และออสเตรีย แล้วต่อมาก็ได้แผ่ขยายไปยังทวีปเอเชีย โดยเฉพาะดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใกล้เส้นศูนย์สูตร เช่น ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย

ความแตกต่างของกาแฟแต่ละที่
1. กาแฟทวีปอเมริกาใต้ : บราซิล โคลัมเบีย โบลิเวีย
สายพันธุ์กาแฟ : อาราบิก้า
รสชาติกาแฟ : ดื่มง่าย เปรี้ยวน้อย ให้ความเปรี้ยวเหมือนแอปเปิ้ลเขียว มีกลิ่นหอมกรุ่น รสชาตินุ่มนวลและมีบอดี้ที่ดีมากๆ
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มประเทศในอเมริกากลาง : กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ ปานามา
สายพันธุ์กาแฟ : อาราบิก้า, ปานามา-เกอิชา (Panama-Geisha)
รสชาติกาแฟ : ดื่มง่าย ความเปรี้ยวไม่มากไม่น้อยเกินไป รสเปรี้ยวแนวซิตรัส รสชาติมีความนุ่มหวานเหมือนช็อกโกแลตและถั่ว ให้รสอ่อนๆ ไม่ขม มีบอดี้ที่ดี และให้กลิ่นหอมอ่อนแบบผลไม้
2. กาแฟทวีปยุโรป : อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ กรีซ
สายพันธุ์กาแฟ : อาราบิก้า-เบอร์บอน (Coffea Arabica var. Bourbon)
รสชาติกาแฟ : มีความหอมหวาน รสชาติหวานที่เป็นเอกลักษณ์ และกลมกล่อม มีความเปรี้ยวไม่มากไม่น้อย เปรี้ยวแบบผลไม้ มีบอดี้ที่พอดีๆ ผลกาแฟเบอร์บอนที่สุกแล้วจะมีทั้งสีแดง เหลือง และส้ม

3. กาแฟทวีปแอฟริกา : เอธิโอเปีย เคนยา เยเมน
สายพันธุ์กาแฟ : กาแฟพื้นเมือง Heirloom, มอคคาเยเมน
รสชาติกาแฟ : มีความเปรี้ยวสูง มีความเปรี้ยวแบบเลมอน บอดี้น้อย และมีความหวานด้วย มีความนุ่มนวล มีกลิ่นหอมมาก กลิ่นหอมหวานเหมือนดอกไม้และกลิ่นส้ม ส่วนกาแฟมอคคาเยเมน มีรสชาติโกโก้อันเป็นเอกลักษณ์
4. กาแฟทวีปเอเชีย : อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย ลาว
สายพันธุ์กาแฟ : อาราบิก้า โรบัสต้า กาแฟขี้ชะมด
รสชาติกาแฟ : รสชาติกลมกล่อม เข้มข้นหอมมันแบบถั่ว มีความเปรี้ยวน้อย รสเปรี้ยวแบบผลไม้ มีบอดี้แบบพอดีๆ ดื่มง่าย เบลนง่าย ในส่วนของอาราบิก้าจะมีความหอมมาก ส่วนโรบัสต้าจะมีความเข้มข้น และมีบอดี้หนักกว่าอาราบิก้า
5. กาแฟหมู่เกาะแปซิฟิก : ออสเตรเลีย ฟิจิ ฮาวาย
สายพันธุ์กาแฟ : อาราบิก้า 5 สายพันธุ์ย่อย
รสชาติกาแฟ : มีกลิ่นที่ละเอียดอ่อน มีกลิ่นหอมหวล รสชาติกลมกล่อมนุ่มนวล มีบอดี้แบบพอดีๆ มีความเปรี้ยวน้อย มีความเป็นกรดอ่อน ดื่มง่าย

กาแฟมูลสัตว์
สำหรับ “กาแฟ” คุณภาพดีเกรดพรีเมียมที่มีราคาแพงมากกว่ากาแฟทั่วไป ก็คือ กาแฟที่มาจากมูลสัตว์ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ราคาแพงก็เพราะว่า ต้องใช้เวลาในการผลิตนาน ต้องรอให้สัตว์กินเข้าไป แล้วผ่านการหมักและย่อยในกระเพาะอาหารของสัตว์ 2-3 วัน จนทำให้สารเคมีในกาแฟมีการเปลี่ยนแปลงไป รอจนสัตว์ขับถ่ายออกมาจึงสามารถไปเก็บผลผลิตมาผ่านขั้นตอนการล้าง ฆ่าเชื้อ คั่ว และแปรรูปได้ แถมยังผลิตได้จำนวนน้อยในแต่ละปี
– กาแฟขี้ชะมด (Kopi Luwak) : ราคา กก.ละ 20,000-30,000 บาท แต่ถ้าบ่มนานๆ 9 เดือนขึ้นไป ราคาก็อาจแพงได้ถึง กก.ละ 100,000 บาท ส่วนรสชาติก็มีความหอมอร่อยกว่ากาแฟทั่วไป คือ นุ่ม หอม เข้มกลมกล่อม ไม่เปรี้ยว ไม่ฝาด ดื่มง่าย (Smooth strong & sweet)
– กาแฟขี้ช้าง : ราคา กก.ละ 40,000-45,000 บาท กาแฟขี้ช้างมีกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มีกลิ่นช็อกโกแลต และมีรสชาติของดาร์กช็อกโกแลต, มอลต์, รวมทั้งเครื่องเทศ แต่ไม่ขมบาดปาก มีความเปรี้ยวน้อย มีกลิ่นหอมหวล
– กาแฟขี้ควาย: ราคาเริ่มต้น กก.ละ 10,000 บาท ซึ่งรสชาติและกลิ่นที่ได้ ก็ถือว่าเป็นกาแฟระดับพรีเมียมเช่นกัน คือ มีความหอม นุ่ม กลมกล่อม ไม่มีรสเฝื่อน มีความเปรี้ยวเล็กน้อย ซึ่งรสเปรี้ยวนั้นสักพักจะเปลี่ยนเป็นรสหวานชุ่มคอ

ติดตามเรื่องราวของ ดวงเนื้อคู่
สนับสนุน โดย Joker Slot , Sa game , Sexy Game , Joker Game , UFABET 72 , Esport , Sa gaming , Sexy gaming , Sa gaming , joker gaming , Joker slot , Slot game , Joker slot , Joker slot