คุณประโยชน์ของน้ำเต้าหู้
คุณประโยชน์ของน้ำเต้าหู้
คุณประโยชน์ของน้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง (Soy Milk) เป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติ และกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ต่างจากนมวัวและนมจากพืชชนิดอื่น ๆ อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างสูง ทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ อีกทั้งยังหาดื่มได้ง่าย จึงทำให้นมถั่วเหลืองได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน
จากคนหลากหลายกลุ่ม รวมถึงมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มดูแลสุขภาพ และมือโปรที่ออกกำลังกายเป็นประจำ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้น ให้ความเห็นว่านมถั่วเหลือง เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพในหลายด้าน เพราะให้พลังงานต่ำ ไขมันต่ำ ไม่มีคอเลสเตอรอล ถือเป็นอีกทางเลือกในการควบคุมน้ำหนัก
และอาจช่วยลดความเสี่ยง ของโรคเรื้อรังบางชนิดที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยดังกล่าว นอกจากนี้ นมถั่วเหลืองยังไม่มีแลคโตส ผู้ที่แพ้นมวัว และภาวะไม่ทนทานต่อน้ำตาลแลคโตส (Lactose Intolerance) จึงดื่มได้โดยไม่เกิดผลข้างเคียง บทความนี้ยังมีประโยชน์อื่น ๆ และวิธีการเลือกนมถั่วเหลือง ที่ดีต่อสุขภาพมาให้ได้อ่านกัน

นมถั่วเหลือง ดื่มแล้วดียังไง ?
นมถั่วเหลืองเป็นผลิตภัณฑ์ จากการนำเมล็ดถั่วเหลือง ไปผ่านกรรมวิธีที่หลากหลาย และกลั่นออกมาเป็นเครื่องดื่ม เดิมทีถั่วเหลืองเองก็เป็นวัตถุดิบ ที่ขึ้นชื่อเรื่องประโยชน์ต่อสุขภาพ สามารถนำไปประกอบอาหาร ได้หลากหลายเมนู หรือนำมาทำเป็นเครื่องดื่ม แต่หากใครไม่มีเวลามากพอ
ที่จะทำเองที่บ้าน อาจจะเลือกซื้อนมถั่วเหลืองพร้อมดื่ม ในรูปแบบกล่อง เพราะหาซื้อได้ง่ายและคงคุณประโยชน์ได้เหมือนกัน อีกทั้งนมถั่วเหลือง บางยี่ห้อยังเพิ่มสารอาหารที่มีประโยชน์อื่น ๆ ลงไป จึงเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ ที่ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนมากขึ้น
คราวนี้มาลองคุณค่าทางสารอาหาร และประโยชน์ของนมถั่วเหลืองที่หลายคนอาจไม่เคยรู้กัน
โปรตีนสูง
หลายคนอาจคิดว่าผลิตภัณฑ์ จากพืชย่อมต้องมีโปรตีนน้อยกว่าผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แต่ความเข้าใจนี้อาจไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะนมถั่วเหลือง 1 แก้วหรือประมาณ 240 มิลลิลิตร มีโปรตีนถึง 7 กรัม ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณโปรตีน จากนมวัวในปริมาณเดียวกัน
อีกทั้งการได้รับโปรตีน จากพืชยังดีต่อสุขภาพหัวใจ มากกว่าโปรตีนจากสัตว์อีกด้วย ร่างกายคนเราในแต่ละวันต้องการโปรตีนราว 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เพื่อรักษากล้ามเนื้อ ซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ
และเสริมพัฒนาการของร่างกาย แต่หากเป็นคนที่ชื่นชอบ การออกกำลังกายหรือต้องทำงานที่ใช้พละกำลังมากก็ต้องได้รับโปรตีนมากกว่านั้น ฉะนั้น การดื่มนมถั่วเหลือง จึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการเพิ่มโปรตีนให้กับร่างกาย
ไขมันต่ำและไม่มีคอเลสเตอรอล
โดยเฉลี่ยแล้ว นมถั่วเหลือง 1 แก้วมีปริมาณไขมัน 4 กรัม ปราศจากคอเลสเตอรอล และมีกรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat) ประมาณ 0.5 กรัม ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์จากสัตว์ จึงไม่ส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ส่วนปริมาณไขมันที่เหลือส่วนใหญ่
อาจจัดอยู่ในกลุ่มไขมันดีที่ช่วยปรับสมดุลในร่างกายและลดความเสี่ยงของโรคบางชนิด นอกจากนี้ นมถั่วเหลืองบางยี่ห้อ ได้เพิ่มกรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3) ลงไป โดยกรดไขมันชนิดนี้จัดเป็นไขมันดีชนิดหนึ่ง ที่เชื่อกันว่าช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
ชนิดไม่ดีภายในเลือด ช่วยต้านการอักเสบของร่างกาย ที่อาจลดความเสี่ยงของโรคเรื้อ รังบางชนิดได้ อย่างไรก็ตาม ควรอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อ เพื่อดูปริมาณคอเลสเตอรอล ในแต่ผลิตภัณฑ์ที่อาจเพิ่มมาได้จากการปรุงแต่ง

แคลอรี่ต่ำเหมาะสำหรับคนควบคุมน้ำหนัก
ด้วยปริมาณคาร์โบไฮเดรต และไขมันที่อยู่ในระดับเหมาะสม ทำให้นมถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งรสชาติมีแคลอรี่หรือพลังงานราว 80-100 กิโลแคลอรี่เท่านั้น เพราะนมถั่วเหลือง 1 แก้วมีน้ำตาลธรรมชาติเพียง 4 กรัม ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับเครื่องดื่มชนิดอื่น โดยเฉพาะนมวัว
นมถั่วเหลือง จึงเหมาะสำหรับผู้ที่กำลังลดน้ำหนัก และสัดส่วน ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ผู้มีโรคประจำตัวหรือเสี่ยงต่อโรค ที่ต้องควบคุมแคลอรี่และน้ำตาล เช่น ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ผู้ป่วยโรคอ้วนและโรคเบาหวาน แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำตาล ที่เติมลงไปในแต่ผลิตภัณฑ์
มีไอโซฟลาโวน สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันโรค
สารต้านอนุมูลอิสระหรือ Antioxidant เป็นสารที่ช่วยปรับสมดุล ของอนุมูลอิสระภายในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพ และเพิ่มความเสี่ยงของโรค โดยสารต้านอนุมูลอิสระ ที่พบได้ในนมถั่วเหลือง คือ ไอโซฟลาโวน (Isoflavones)
การศึกษาจำนวนหลายชิ้นชี้ว่า สารต้านอนุมูลอิสระชนิดนี้ มีคุณสมบัติต้านการอักเสบของเซลล์จึงอาจช่วยลดความเสี่ยง และบรรเทาอาการของโรคเรื้อรัง อย่างโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากการอักเสบของเซลล์ได้
นอกจากนี้ ไอโซฟลาโวน ยังเป็นเอสโตรเจนตามธรรมชาติ (Phytoestrogen) ที่อาจช่วยเพิ่มระดับเอสโตรเจนในร่างกาย จึงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ระดับเอสโตรเจนลดลง จากงานวิจัยที่ศึกษา ความสัมพันธ์ของสารไอโซฟลาโวน
กับภาวะหมดประจำเดือนพบว่า ไอโซฟลาโวนอยด์ อาจช่วยทดแทนฮอร์โมนเอสโตร ที่ลดลง ชะลอการสูญเสียมวลกระดูก ที่เป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุน และบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ (Hot Flashs) จากภาวะนี้ได้
ถึงแม้ยังไม่ทราบกลไก การออกฤทธิ์ที่แน่ชัดของไอโซฟลาโวนอยด์ และอยู่ในขั้นตอนการค้นคว้าเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เราควรดื่มนมถั่วเหลือง ในปริมาณเหมาะสมเพื่อเน้นการเพิ่มสารอาหารให้ร่างกายเป็นหลัก
ติดตามเรื่องราว การรักษาสุขภาพจิต เมื่อ work form home