คุณอาจเป็นแพริคอย่างไม่รู้ตัว

คุณอาจเป็นแพริคอย่างไม่รู้ตัว

คุณอาจเป็นแพริคอย่างไม่รู้ตัว โรคแพนิคคือ อะไร ทางการแพทย์ได้อธิบาย เกี่ยวกับโรคแพนิคว่าเป็นภาวะตื่นตระหนก ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเหตุการณ์บางเหตุการณ์ ที่ไม่มีสามารถอธิบายเหตุผลได้ ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกหวาดกลัวอย่างรุนแรง

ทั้งที่ตัวเองไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย ซึ่งอาการดังกล่าวจะสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และอาจส่งผลต่อความมั่นใจในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเนื่องจากไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

โรคแพนิคคือ ?

หลายคนคงตั้งคำถามว่าจริงอๆ แล้ว โรคแพนิคคือ อะไร และเป็นโรคเดียวกันกับโรควิตกกังวลหรือไม่ วันนี้ เรา จึงอยากมาไขข้อข้องใจว่า โรคแพนิค เป็นโรคที่เกิดจากความกังวล ที่ไม่มีสาเหตุ ซึ่งจะแตกต่างจากโรควิตกกังวล ที่จะมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

เช่น งาน ครอบครัว สุขภาพ เป็นต้น โรควิตกกังวลจะไม่แสดงอาการทางร่างกาย เป็นความเจ็บป่วยทางใจ ซึ่งต่างจากโรคแพนิค ที่เมื่ออาการแพนิคกำเริบ ก็จะมีอาการทางกาย แสดงออกมา เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ร้อนวูบวาบ เป็นต้น

โรคแพนิค เป็นโรคที่เกิดจากฮอร์โมนลด หรือเปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ระบบประสาทที่ควบคุม การทำงานของร่างกายในหลาย ๆ ส่วน จึงทำให้เกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน ซึ่งอาจมีสาเหตุ มาทั้งจากทางร่างกาย เช่น กรรมพันธุ์ การใช้สารเสพติด หรือความผิดปกติของฮอร์โมน

ส่วนทางจิตใจ ก็อาจมีสาเหตุ มาจากการผ่านเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเสียสมดุลของสารเคมีในสมองได้ โดยเฉพาะในวัยเด็ก ที่มีโอกาสเป็นโรคแพนิคได้มากกว่า  เช่น  ถูกทอดทิ้ง  ถูกทำร้ายร่างกาย  ถูกข่มขืน  เป็นต้น

อาการแพนิคคือ?

โรคแพนิคคือ อาการตื่นตระหนกโดยไม่มีสาเหตุ ในผู้ป่วยทั่วไปเมื่อเกิดอาการแพนิค จะรู้สึกหวาดกลัวหรือตื่นตระหนก อย่างไม่ทราบสาเหตุ โดยอาการนี้ จะเกิดขึ้นกะทันหันและยังสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

ซึ่งเป็นอาการที่มีความรุนแรง มากกว่าความรู้สึกเครียด หรืออาการหวาดกลัวทั่วไป มักจะเกิดขึ้นเป็นเวลา 10-20 นาที หรือในบางรายอาจเกิดอาการแพนิค นานเป็นชั่วโมง โดยผู้ป่วยจะมีอาการ ดังนี้

1.ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

2.หายใจไม่ออก หายใจติดขัดรู้สึกเหมือนขาดอากาศ

3.หวาดกลัวอย่างรุนแรง จนทำให้ร่างกายขยับไม่ได้

4.เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้

5.มือสั่น หรือตัวสั่น รวมทั้งมีเหงื่อออกตามร่างกาย

6.รู้สึกหอบและเจ็บหน้าอก

7.รู้สึกร้อนวูบวาบ หรือหนาวขึ้นมาอย่างกะทันหัน

8.เกิดอาการเหน็บที่นิ้วมือหรือเท้า

9.วิตกกังวล หรือหวาดกลัวว่าตนเองจะเสียชีวิต

10.กังวลว่าจะมีเหตุการณ์อันตรายเกิดขึ้น

11.หวาดกลัวและพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ หรือสถานการณ์อันตราย ที่ทำให้รู้สึกหวาดกลัวในอดีต

12.รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆิในชีวิตได้ รวมทั้งกลัวว่าตัวเอง จะเป็นบ้าหรือเสียสติ

คุณอาจเป็นแพริคอย่างไม่รู้ตัว

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคแพนิค

โรคแพนิคคือโรคที่ส่งผล ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก หากปล่อยไว้นานและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดพฤติกรรมหลีกเลี่ยงบางสิ่งบางอย่าง อย่างรุนแรง เพราะกลัวว่าจะเกิดอาการตกใจกลัวออย่างรุนแรงอีกครั้ง

เช่น หากเคยมีอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรงในลิฟต์ หรือเคยเกิดอุบัติเหตุในลิฟต์มาก่อน ก็อาจทำให้มักจะหลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์ และเกิดอาการกลัวลิฟต์เกิดขึ้นในภายหลัง  

นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคแพนิคส่วนมาก มักมีอาการของโรคกลัว ที่ชุมชนร่วมด้วย ส่งผลให้ไม่กล้าไปไหนมาไหนคนเดียว กลัวการเดินทางคนเดียว กลัวสถานที่บางแห่ง หรือกลัวสถานการณ์ ที่หลีกหนีจากผู้คนได้ยาก

ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วย กลายเป็นคนที่เก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน หรืออยู่แต่ในอาคารตลอดเวลา ซึ่งโรคแพนิคนอกจากจะส่งผลเสีย ต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยแล้ว ยังอาจนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียโดยตรง ต่อตัวผู้ป่วยเช่นกัน ได้แก่

  1. มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวล และมีความเสี่ยง ในการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้า รายอื่น ๆ
  2. มีอาการติดบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และใช้สารเสพติด
  3. เกิดภาวะแทรกซ้อน จากการใช้ยารักษาโรค
  4. มีปัญหาทางการเงิน เนื่องจากต้องจ่ายค่ารักษา
  5. ช่วยเหลือตัวเอง ไม่ค่อยได้ ต้องพึ่งพาผู้อื่น ในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ค่อนข้างมาก
  6. มีปัญหากับที่ทำงาน หรือกับทางโรงเรียน หรือกับคนรอบข้าง

การรักษาโรคแพนิค

 โรคแพนิค คือโรคที่สามารถรักษาได้ และถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษา อย่างถูกต้อง ก็จะมีอาการแพนิคน้อยลง และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ การรักษาโรคแพนิค ประกอบด้วยจิตบำบัดและการรักษาด้วยยา

โดยการรักษาแต่ละวิธีนั้น จะขึ้นอยู่กับความต้องการ ของผู้ป่วย ประวัติการรักษา ความรุนแรงของโรค และความพร้อมในการเข้ารับการรักษา 

เราควรที่จะหมั่นดูแลตัวเอง เป็นประจำ และตรวจเช็คร่างกายบ่อย ๆ ว่าเรานั้นอยู่ในกลุ่มมี่สุ่มเสี่ยงหรือไม่ มีอาการตามที่กล่าวมาหรือ หากว่ามีก็ควรที่จะไปพบแพทย์ หรือปรึกษา ว่าเรานั้นเป็นหรือไม่ หากเป็นจะได้รับการรักษา อย่างใกล้ชิด บ

ติดตามเรื่องราว โรค RSV ที่อันตรายต่อเด็กเล็กมากๆ

สนับสนุนโดย แทงบอล บาคาร่า PG SLOT

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *