ตรวจเช็คว่าเราเป็นซึมเศร้า หรือไม่ได้เป็นกันแน่
ตรวจเช็คว่าเราเป็นซึมเศร้า หรือไม่ได้เป็นกันแน่
ตรวจเช็คว่าเราเป็นซึมเศร้า หรือไม่ได้เป็นกันแน่ อาการโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นอาจแสดงออกในทางที่ต่างออกไปจากอาการซึมเศร้าโดยทั่วไป ซึ่งอาจทำให้ผู้ปกครองและคนรอบข้างเข้าใจผิด ไม่คิดว่าวัยรุ่นมีอาการซึมเศร้า เช่น
– มีพฤติกรรมก้าวร้าว ดื้อรั้น ต่อต้านรุนแรง
– อาจมีพฤติกรรมติดแอลกอฮอล์ ติดเกม ติดเซ็กส์
– หงุดหงิด ฉุนเฉียว
– นอนไม่หลับ หรือนอนหลับมาก
– เฉื่อยชา แยกตัว เก็บตัว ไม่สุงสิงกับใคร
– ไม่ร่าเริง ไม่ยิ้ม เหม่อลอย เบื่อหน่าย
– ไม่อยากพูดคุยกับใคร ไม่อยากเจอเพื่อน
– ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากเรียนหนังสือ ไม่มีสมาธิในการเรียน การทำงาน
– มีปัญหาการเรียน มาสาย ไม่เข้าเรียน หลับในห้องเรียน
– ไม่ดูแลตัวเอง กินมากจนอ้วน หรือไม่กินจนผอมมาก
– ไม่มั่นใจตัวเอง คิดว่าตัวเองไร้ค่า ท้อแท้ หมดหวัง
– ทำร้ายตัวเอง
– ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป อาจฆ่าตัวตายในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความคิด พฤติกรรม และอาจมีอาการทางกายอื่น ๆ เช่น เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ปวดศีรษะ ปวดท้องร่วมด้วย ดังนั้นคนรอบข้าง
จึงจำเป็นต้องสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หากพบว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ควรรีบพาไปพบจิตแพทย์และทำการรักษาอย่างถูกต้อง หรือจะลองประเมินอาการโรคซึมเศร้าจากแบบทดสอบของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ก่อนก็ได้
– แบบวัดภาวะซึมเศร้าโรคซึมเศร้า VS โรคที่คล้ายคลึงกัน มีโรคที่อาการคล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้าด้วยเหมือนกัน ซึ่งต้องพิจารณาอาการให้ดี ๆ ว่าเป็นโรคอะไรกันแน่ เช่น
* ภาวะอารมณ์ซึมเศร้าจากการปรับตัวไม่ได้กับปัญหาที่มากระทบ
หากมีการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน เช่น ย้ายโรงเรียน ย้ายบ้าน โดนรีไทร์ ต้องย้ายคณะ หรือการสูญเสียสิ่งสำคัญไป อาจทำให้มีภาวะเศร้า หรือหดหู่ได้ แต่อาการมักจะไม่รุนแรง และเป็นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อมีคนมาพูดคุย มาปลอบใจ หรือผ่านช่วงเวลายากลำบากไปได้ ก็จะกลับมาเป็นปกติ

* โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว
ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการเดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เดี๋ยวเศร้า แป๊บ ๆ กลับไปร่าเริง ซึ่งช่วงที่เศร้าอาจมีอาการคล้าย ๆ โรคซึมเศร้ามาก แต่ก็จะแตกต่างตอนที่อารมณ์เปลี่ยนมาดี จะรู้สึกอยากทำนั่นทำนี่ และมีอาการเชื่อมั่นในตัวเองมากกว่าปกติ
* โรควิตกกังวล
ผู้ป่วยโรควิตกกังวลอาจมีอาการซึมเศร้า เบื่ออาหาร แต่ไม่มากนัก และจะมีอาการหายใจไม่อิ่ม ใจสั่น สะดุ้ง ตกใจง่าย ซึ่งไม่ค่อยพบในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเท่าไร
โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder : GAD) โรควิตกกังวลชนิดนี้พบได้บ่อยในปัจจุบัน แต่ก็ยังถือว่าเป็นโรควิตกกังวลที่อาการไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยมักจะมีความรู้สึกกังวลเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน การเรียน งาน การเงิน
โดยที่ผู้ป่วยก็รู้ตัวว่าเป็นความกังวลที่เกินกว่าเหตุ แต่ไม่สามารถระงับความกังวลเหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง และมักจะมีพฤติกรรมกังวลกับเรื่องเดิม ๆ เหตุการณ์เดิม ๆ วนไปวนมา เป็นต้น
ทั้งนี้จิตแพทย์จะประเมินว่า ความวิตกกังวลนั้นเป็นโรคจิตเวชได้ก็ต่อเมื่อ ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลร่วมกับมีอาการแสดงออกทางกายอย่างน้อย 3 อย่าง เช่น กระวนกระวาย เหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ หงุดหงิดง่าย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และนอนไม่หลับ
โดยผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติดังกล่าวนั้นติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน จึงจะถือว่าป่วยโรควตกกังวลทั่วไป ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยยาทางจิตเวช และพฤติกรรมบำบัด
หากพบว่าเป็นโรคซึมเศร้าขึ้นมา แล้วมืดแปดด้านไม่รู้ต้องทำยังไง เรามีทางออกมาบอกต่อ ดังนี้
* พูดคุยกับคนที่ไว้ใจ หรือปรึกษานักจิตวิทยา
* พยายามออกไปเที่ยว ออกไปทำกิจกรรมกับเพื่อน ๆ ทำกิจกรรมที่เราสนใจ
* ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง
* รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
* นอนหลับให้เพียงพอ
* หลีกเลี่ยงการกินยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อโดยไม่จำเป็น
* งดดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
* เล่นกีฬา เล่นดนตรี
* เข้าใจอารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้น และยอมรับว่าทุกคนเศร้าได้ เพราะไม่มีใครสมหวังไปทุกเรื่อง
* มองโลกในด้านบวก
* อย่าตัดสินใจเรื่องใหญ่ในชีวิต เช่น ลาออกจากโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือล้มเลิกแผนชีวิตบางอย่าง ในช่วงที่รู้สึกเศร้า
* ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา
ติดตามเรื่องราว เอากล้วย มาทำขนมแบบกล้วยๆ