ทดสอบความคุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่
ทดสอบความคุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่
ทดสอบความคุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ ลองดูแบบทดสอบต่อไปนี้ จากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ที่จะช่วยให้เราวินิจฉัยได้เบื้องต้นว่ากำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือไม่โดยให้ตอบคำถามว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คุณมีอาการหรือความคิดในลักษณะนี้บ้างหรือไม่
1. รู้สึกจิตใจหม่นหมอง (เกือบตลอดทั้งวัน)
2. รู้สึกเป็นทุกข์จนอยากร้องไห้
3. รู้สึกหมดอาลัยตายอยาก
4. รู้สึกไม่มีความสุข หมดสนุก กับสิ่งที่เคยชอบและเคยทำ
5. รู้สึกผิดหวังในตนเอง และโทษสิ่งที่เกิดขึ้น
6. รู้สึกสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง
7. รู้สึกอยากอยู่คนเดียวไม่อยากสุงสิงกับใคร
8. รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า
9. คิดอะไรไม่ออก
10. หลงลืมง่าย
11. คิดอะไรได้ช้ากว่าปกติ
12. ทำอะไรอืดอาด เชื่องช้ากว่าปกติ
13. รู้สึกอ่อนเพลียง่ายเหมือนไม่มีแรง
14. รู้สึกเบื่ออาหาร กินได้น้อยกว่าเดิม
15. นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ หลับไม่สนิท

ถ้าตอบว่า “มี” ตั้งแต่ 6 ข้อขึ้นไป หมายถึง มีภาวะซึมเศร้า ควรได้รับบริการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ หรือพบแพทย์เพื่อการบำบัดรักษา
โรคซึมเศร้า รักษาได้อย่างไร
โรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ด้วยหลายวิธี ดังนี้
– รักษาโรคซึมเศร้าด้วยยา
การรักษาหลักในปัจจุบันก็คือ การให้ยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressant drugs) ซึ่งมีอยู่หลายชนิด มีทั้งชนิดที่ทำให้ง่วงและที่ไม่ง่วง ยาแก้โรคซึมเศร้าจะไม่ทำให้เกิดการเสพติด และผู้ป่วยสามารถหยุดยาได้เมื่อหมดความจำเป็น
ทั้งนี้ ยาแก้โรคซึมเศร้าไม่ได้ออกฤทธิ์เพียงแค่ลดความกังวล แต่จะออกฤทธิ์ทำให้อารมณ์หายซึมเศร้าจริง ๆ อย่างไรก็ตาม ยาชนิดนี้จะออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า ต้องรับประทานยาต่อเนื่องนานอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์
จึงเริ่มเห็นว่าอารมณ์แจ่มใสขึ้น และมักต้องใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ยาจึงจะออกฤทธิ์เต็มที่ เมื่อหายแล้วผู้ป่วยจะกลับเป็นคนเดิม และแพทย์จะให้ยาต่ออีกอย่างน้อย 6 เดือน แต่ในรายที่เป็นบ่อยแพทย์อาจพิจารณาให้ยานานกว่านั้น
ยาแก้ซึมเศร้าอาจแบ่งคร่าว ๆ ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มที่มีโครงสร้างเป็นแบบ Tricyclic และยากลุ่มใหม่ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นมาในช่วงไม่นานมานี้ ข้อดีของยาในกลุ่ม Tricyclic คือ เป็นยาที่ใช้ในการรักษา มานานจนทราบกันดี
ถึงอาการข้างเคียงของยาแต่ละตัว ประสิทธิภาพเป็นที่ยืนยันแน่นอน ทั้งในการรักษาระยะเฉียบพลันและการป้องกันระยะยาวและราคาถูก
อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการรักษาของยาแก้โรคซึมเศร้าแต่ละตัวนั้นไม่ต่างกัน ความแตกต่างอยู่ที่ฤทธิ์ข้างเคียง ซึ่งรวมถึงยาในกลุ่มใหม่ด้วยเช่นกัน ในการเลือกใช้ยาเราพิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้ตามลำดับ
หากเป็นผู้ป่วยที่เคยป่วยและรักษาหายมาก่อน ประวัติการรักษาเดิมมีความสำคัญ โดยผู้ป่วยมักตอบสนองต่อยาตัวเดิม และขนาดเดิมที่เคยใช้ ดังนั้น จึงควรใช้ยาขนานเดิมเป็นตัวแรก

– รักษาโรคซึมเศร้าโดยไม่ใช้ยา
* เปลี่ยนความคิดพิชิตความเศร้า
คนที่กำลังเศร้าจะมองโลกในแง่ร้าย และคนที่มองโลกในแง่ร้ายก็จะซึมเศร้าได้ง่าย เป็นวัฏจักรที่ทำให้ภาวะซึมเศร้าเป็นอยู่นาน ดังนั้น เมื่อเกิดอารณ์ซึมเศร้าขึ้นมา ให้ผู้ป่วยลองหยุดเศร้าสักประเดี๋ยวแล้วมองย้อนกลับไปว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น และเมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้น
มันมีความคิดอะไรแวบขึ้นมาในสมอง แล้วลองพิจารณาว่าความคิดอันนั้นมันถูกต้องแค่ไหน ถ้าคิดได้ว่ามันไม่ค่อยสมเหตุผลเท่าไรอารมณ์จะดีขึ้นทันที อย่างน้อยก็จนกว่าจะเผลอไปคิดอะไรในแง่ร้ายอีก แต่ถ้าคิดแล้วรู้สึกว่ามันก็สมเหตุผลดี ค่อยคิดต่อว่าแล้วจะทำอย่างไรกับเรื่องนั้นดี
* เปลี่ยนพฤติกรรม
ผู้ที่อยู่ในภาวะซึมเศร้ามักไม่อยากทำอะไร หมดเรี่ยวแรง นั่ง ๆ นอน ๆ แต่ในสมองจะคิดไปเรื่อยและมักคิดแต่เรื่องร้าย ๆ ยิ่งคิดก็ยิ่งลุกไม่ขึ้น ให้แก้โดยการหาอะไรทำ หาอะไรที่ได้ลงไม้ลงมือทำ
ไม่จำเป็นจะต้องเป็นงานที่สำคัญขอให้ได้ลงมือทำเป็นใช้ได้ เช่น จัดตู้หรือลิ้นชักที่รก ๆ เอาของที่แตกที่หักมาลองซ่อมดู เช็ดรถ รดน้ำต้นไม้ แย่งงานคนใช้ทำ ฯลฯ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ ความคิดฟุ้งซ่านจะลดลงและอารมณ์จะดีขึ้น
– รักษาโรคซึมเศร้าด้วยไฟฟ้า (ECT, Electroconvulsive Therapy)
ในรายที่เป็นมากหรือเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมาก ๆ แพทย์จะให้การรักษาด้วยไฟฟ้า เครื่องจะปล่อยกระแสไฟฟ้าผ่านสมองทำให้ผู้ป่วยเกิดการชัก (Convulsion) ภาวะซึมเศร้าจะหายได้อย่างรวดเร็ว (ในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์)
การรักษาด้วยไฟฟ้าในปัจจุบันมีความปลอดภัยสูงมาก แต่เนื่องจากสังคมได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดจากสื่อต่าง ๆ ทำให้การรักษาแบบนี้ไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับกัน แพทย์จึงจะใช้การรักษาแบบนี้ในรายที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
ติดตามเรื่องราว จริงๆแล้วผลไม้ก็มีประโยชน์ไม่น้อย
สนับสนุนโดย Joker Slot, Sa game, Sexy Game, Joker Game, UFABET 72, Esport, Sa gaming, Sexy gaming, Sa gaming, joker gaming, Joker slot , Slot game, Joker slot, Joker slot