ทานยาคุมกำเนิดเป็นประจำ สามารถฉีดวัคซีนได้ไหม
ทานยาคุมกำเนิดเป็นประจำ สามารถฉีดวัคซีนได้ไหม
ทานยาคุมกำเนิดเป็นประจำ สามารถฉีดวัคซีนได้ไหม การกินยาคุมกำเนิด เป็นอีกหนึ่งในวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่ผู้หญิงนิยมใช้กันมาก เพราะมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูงทีเดียว ทว่าเรื่องหนึ่งที่ทำให้สาว ๆ ค่อนข้างกังวลก็คือ เคยได้ยินมาว่าการใช้ยาคุมกำเนิด
จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และยิ่งช่วงนี้หลายคนต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ด้วย เลยไม่แน่ใจว่าจะยิ่งเพิ่มโอกาสเกิดลิ่มเลือดหรือไม่ แบบนี้ต้องหยุดกินยาคุมก่อนหรือเปล่านะ
วันนี้เรารวบรวมข้อมูลและคำแนะนำของแพทย์มาสรุปให้เข้าใจกันค่ะ ซึ่งเราจะต้องทำความรู้จักกับภาวะลิ่มเลือดอุดตันเสียก่อนลิ่มเลือดอุดตัน คืออะไร แบบไหนเป็นปัจจัยเสี่ยง

เมื่อมีบาดแผลและเลือดไหล ร่างกายจะมีกระบวนการซ่อมแซมเกิดขึ้น หนึ่งในนั้นก็ คือ การที่ร่างกายจะสร้างโปรตีน ขึ้นมายับยั้งการแข็งตัวของเลือด ซึ่งจะช่วยให้ลิ่มเลือดอยู่เฉพาะบริเวณแผลเท่านั้น ไม่กระจายไปยังส่วนอื่น แต่หากโปรตีนทำงานผิดปกติ ลิ่มเลือดอาจกระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่น หลอดเลือดดำ หลอดเลือดแดง ปอด หัวใจ ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันบริเวณต่าง ๆ ขึ้นมาได้
ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันก็มีหลายสาเหตุ เช่น
– ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้เลือดไหลเวียนช้า
– ป่วยด้วยโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อระบบการไหลเวียนเลือด เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
– การใช้ยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด
– อายุที่มากขึ้น เนื่องจากผนังหลอดเลือดมีโอกาสเสื่อมได้มากกว่าคนอายุน้อย
– โรคอ้วน และมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง อาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงเกิดคราบพลัค เมื่อผนังฉีกขาด คอเลสเตอรอลจะรั่วออกมากระตุ้นให้เลือดจับตัวเป็นลิ่มเลือด
– การสูบบุหรี่เป็นประจำ
– หญิงตั้งครรภ์ และหลังคลอดบุตร
ฯลฯใช้ยาคุมกำเนิดเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน จริงหรือ ?
ต้องบอกว่าการใช้ยาคุมกำเนิดที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เพิ่มโอกาสในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้เช่นกัน เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนจะไปส่งเสริมการสร้างโปรตีน ที่ใช้ในการแข็งตัวของเลือดให้มากเกินกว่าปกติ ทำให้เกิดเป็นก้อนเลือดหรือลิ่มได้มากขึ้น
ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นจะเป็นลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep Vein Thrombosis : DVT) โดยส่วนใหญ่จะเกิดที่ขาแล้วกระจายไปตามกระแสเลือด และไปอุดตันที่หลอดเลือดดำในปอด
ทั้งนี้ ยาคุมกำเนิดจะมีทั้งชนิดฮอร์โมนรวม และชนิดฮอร์โมนเดี่ยว โดยการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม จะมีโอกาสเสี่ยง ต่อการเป็นลิ่มเลือดอุดตันมากกว่า เพราะประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสตินรวมกันในเม็ดเดียว ซึ่งอย่างที่ทราบไปแล้วว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน มีส่วนช่วยเพิ่มการแข็งตัวของเลือด อันอาจนำไปสู่ภาวะลิ่มเลือดอุดตันได้
ขณะที่ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว จะมีเพียงฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงอย่างเดียว ซึ่งยังไม่พบหลักฐานว่า ฮอร์โมนชนิดนี้ จะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการแข็งตัว ของเลือดลิ่มเลือดอุดตันจากยาคุม เกิดได้มาก-น้อยแค่ไหน

แม้การใช้ยาคุมกำเนิด จะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดดำอุดตันได้ แต่ก็อยู่ในอัตราส่วนไม่มาก โดยในผู้หญิงชาวตะวันตก จะมีโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากการใช้ยาคุม ประมาณ 6-15 คน ใน 10,000 คน
ขณะที่ในกลุ่มผู้หญิงไทย อายุไม่เกิน 50 ปี จะมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ราว ๆ 1 ใน 10,000 คน แต่หากกินยาคุมกำเนิดแบบมีฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วย ก็อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 2-4 ใน 10,000
จะเห็นว่าหญิงชาวเอเชีย มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันยากกว่าหญิงชาวตะวันตก เนื่องจากร่างกายของคนตะวันตก จะมีกลไกของสารแข็งตัวในเลือดมากกว่า ดังนั้น การใช้ยาคุมกำเนิดในคนไทย ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ ที่จะเกิดลิ่มเลือดอุดตันขึ้น
ขณะที่ผู้หญิงตั้งครรภ์หรือหลังคลอด ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าการกินยาคุม ถึง 5-6 เท่า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับยาคุมกำเนิด แต่เพิ่มความเสี่ยงภาวะลิ่มเลือดอุดตันได้อีกอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย การนั่งเครื่องบินนาน ๆ ภาวะอ้วน การสูบบุหรี่ ฯลฯ อย่างที่กล่าวไปแล้ว ใครต้องระวัง เมื่อจะใช้ยาคุมกำเนิด
อย่างไรก็ตาม ในผู้หญิงบางกลุ่ม หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจนจะดีกว่า เนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ได้มากกว่าคนทั่วไปอยู่แล้วจากภาวะโรคประจำตัวหรือพฤติกรรมต่าง ๆ ยิ่งถ้าใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงร่วมด้วย จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น ได้แก่กลุ่มคนต่อไปนี้
1. มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน
2. สูบบุหรี่จัด
3. ผู้หญิงที่มีอายุมาก คือ 35 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิงอายุน้อย เนื่องจากอาจเกิดโรคประจำตัว ที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือดได้ง่าย และจะมีความเสี่ยงมากขึ้นหากสูบบุหรี่จัด
4. มีอาการปวดศีรษะไมเกรน ชนิดที่มีออร่า
5. มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
6. คนที่นั่งนาน ๆ ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือมีเส้นเลือดขอดที่ขา
7. คนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันของหลอดเลือด
8. มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับ หรือเคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม
9. มีประวัติคนในครอบครัว มีภาวะหลอดเลือดอุดตัน ลิ่มเลือดอุดตัน หรือโรคมะเร็ง
10. คนที่มีเลือดออกผิดปกติ จากช่องคลอดที่ยังไม่ทราบสาเหตุ
ติดตามเรื่องราว อาหารมื้อเช้าสำคัญต่อสุขภาพร่างกายเราเป็นอย่างมาก