วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ต้องยอมรับว่า การออกกำลังกาย ไม่ได้เป็นที่นิยมสำหรับวัยรุ่น หรือวัยทำงานแต่เพียงเท่านั้น เพราะในกลุ่มผู้สูงอายุเอง ก็หันมาใช้เวลาในการอยู่บ้านเฉย ๆ ไปกับการออกกำลังกายกันเป็นจำนวนมาก

วันนี้ เราจึงได้นำรูปแบบการออกกำลังกาย ที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ มาแบ่งปันให้ได้ทราบกันค่ะ เพื่อช่วยลดโอกาสในการบาดเจ็บ จากการออกกำลังกาย ได้เป็นอย่างดี มีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

1.เดินหรือวิ่งอย่างช้า ๆ                                
รูปแบบการเดินหรือวิ่งช้า ๆ เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถออกกำลังกายอย่างหนัก แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหา เกี่ยวกับข้อเข่าหรือข้อเท้า ไม่แนะนำให้ออกกำลังกายด้วยการวิ่ง แม้จะวิ่งช้า ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ และความเสียหายต่อข้อเข่า หรือข้อเท้าได้

2.ว่ายน้ำหรือเดินในน้ำ
การออกกำลังกาย ด้วยการว่ายน้ำ หรือเดินในน้ำนั้น เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากการว่ายน้ำ จะมีส่วนช่วยลดแรงกระแทกโดยตรง กับพื้นที่มีความแข็งนั่นเอง อีกทั้ง ยังเป็นการฝึกกล้ามเนื้อ ให้กับทุกส่วนของร่างกายได้เป็นอย่างดี และยังเป็นการฝึกการหายใจ ได้อย่างเป็นระบบเลยทีเดียว


3.โยคะ
อย่างที่ทราบกันดีว่า การออกกำลังกายด้วยรูปแบบโยคะนั้น ช่วยฝึกทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ดังนั้นการเล่นโยคะจึงเหมาะ สำหรับผู้สูงอายุอย่างมาก เพราะโยคะ ถือเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ที่ช่วยให้มีสุขภาวะที่ดียิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ ก็ต้องได้รับการฝึกฝน อย่างถูกวิธีด้วยเช่นกัน

การออกกำลังกายด้วยท่าทางของโยคะที่เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างร่างกาย อารมณ์ และสมาธิ ไม่ได้รับความนิยมจากกลุ่มของคนทำงานเพียงเท่านั้น แต่ในวัยผู้สูงอายุก็ได้รับความนิยมเช่นกัน เพราะถือว่าเป็นการออกกำลังที่มีความปลอดภัย แต่ก่อนที่ผู้สูงอายุจะทำการฝึกโยคะ ควรรู้เรื่องดังต่อไปนี้
– ฝึกอย่างปลอดภัย
การฝึกฝนโยคะในช่วงเริ่มต้นของผู้สูงอายุต้องเป็นไปอย่างปลอดภัย และจะต้องมีครูผู้ฝึกสอนท่าโยคะอยู่ใกล้ตัวเสมอ  เพราะจะช่วยให้คำแนะนำที่ถูกต้องและจัดท่าทางที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บต่าง ๆ


– เลือกท่าที่เหมาะสม
เมื่อเริ่มฝึกฝนโยคะจนเกิดความชำนาญ หรือสามารถที่จะออกกำลังกายได้ด้วยตัวเองแล้ว ควรเลือกท่าทางที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุเท่านั้น ไม่ควรเลือกท่าที่ผาดโผนหรือเสี่ยงต่ออันตรายมากจนเกินไป เพราะอาจจะส่งผลกระทบ ในเรื่องของกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ โดยให้เลือกท่าที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างร่างกายกับสมาธิได้เป็นอย่างดี

ถ้าเหนื่อยต้องพัก
เมื่อใดที่เริ่มฝึกโยคะแล้วรู้สึกเหนื่อยหอบผิดปกติ รวมไปถึงอาการเหนื่อยก่อนการเริ่มฝึก ควรหยุดการฝึกโยคะนั้นทันที ไม่ควรฝืนทำต่อไปเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหาใหญ่ได้ เพราะโรคของผู้สูงอายุบางโรคอาจจะกำเริบขึ้นในระหว่างการออกกำลังกายได้เสมอ


-ปรึกษาแพทย์ก่อนทำโยคะ
สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ โรคไต และโรคต่าง ๆ ที่จะต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ต้องมีการกินยาอย่างต่อเนื่อง ก่อนการฝึกโยคะควรปรึกษากับแพทย์เฉพาะด้านหรือแพทย์ประจำโรคก่อน เพราะแพทย์จะรู้ดีว่าการออกกำลังกายในรูปแบบใดที่เหมาะสมต่อคนไข้ของตนเอง ไม่ควรรีบออกกำลังกายโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ไม่เช่นนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตได้

-ทำอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อได้ท่าการออกโยคะที่เหมาะสม มีการปรึกษาแพทย์ และได้รับอนุญาตให้ออกกำลังด้วยโยคะได้แล้ว เรื่องต่อมาที่ควรทำ คือ ควรออกกำลังด้วยโยคะเป็นประจำและมีความสม่ำเสมอ ด้วยการออกโยคะสัปดาห์ละประมาณ 3-5 วัน เพื่อเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ

เพิ่มความคล่องตัว และทำให้สุขภาพมีความแข็งแรง นอกจากนี้ควรวอร์มร่างกายก่อน เพื่อทำให้เกิดความพร้อมต่อร่างกายในส่วนต่าง ๆ มากขึ้น สำหรับการวอร์มนั้นควรอยู่ที่ประมาณ 5-10 นาที เพื่อลดอาการบาดเจ็บและช่วยทำให้การออกท่าทางโยคะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4.รำมวยจีน
การออกกำลังกาย ด้วยรูปแบบของการรำมวยจีนนั้น ช่วยฝึกความอดทน การยืดหยุ่นและความแข็งแรงของร่างกายผู้สูงอายุได้ดี อีกทั้งยังช่วยฝึกการหายใจ ให้เป็นไปตามธรรมชาติ และการรำมวยจีน ยังช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าสังคม ได้มากขึ้น ถือเป็นการออกกำลังกาย ที่ช่วยลดการอยู่คนเดียว ของผู้สูงอายุได้อีกด้วย

5.รำกระบอง
ในส่วนของการรำกระบองนั้น เป็นการออกกำลังกาย ที่ส่งผลดีต่อกระดูกสันหลัง จนนำมาสู่การส่งผลดีต่ออวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ในส่วนปลายของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นนิ้วเท้า หรือนิ้วมือ อีกทั้ง ยังช่วยยืดเอ็นร้อยหวายรวมถึงกล้ามเนื้อ

ในส่วนของน่องได้เป็นอย่างดี ซึ่งกล้ามเนื้อน่องนั้น ถือเป็นอวัยวะที่มีส่วนในการเคลื่อนไหวและการโค้งงอของส่วนปลายของร่างกาย จึงทำให้ร่างกาย สามารถยืดหยุ่นได้มากขึ้น


6.ขี่จักรยาน
การขี่จักรยานเป็นรูปแบบการออกกำลังกาย ที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีร่างกายแข็งแรง เพราะร่างกายจำเป็น ต้องออกแรงมากกว่าปกติ อีกทั้งยังต้องควบคุม การเคลื่อนไหวของจักรยานอีกด้วย แต่การขี่จักรยานนั้นก็มีความน่าสนใจ ตรงที่ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อขา แถมยังช่วยสร้างความเพลิดเพลิน ให้กับผู้สูงอายุอีกด้วย


7.กายบริหาร
การออกกำลังกาย ด้วยรูปแบบการกายบริหาร เป็นวิธีการออกกำลังกาย ที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ชื่นชอบการอยู่บ้าน หรือมีความจำเป็นต้องอยู่บ้าน แต่การกายบริหาร ก็เป็นการออกกำลังกายในทุกส่วนของร่างกาย

แถมยังช่วยฝึกการทรงตัว การยืดหยุ่นของร่างกาย และการอดทน ในส่วนของวิธีการกายบริหารที่แนะนำให้ผู้สูงอายุได้ลองทำก็คือ การเหยียดน่อง การเขย่งปลายเท้า การย่อเข่า และการโยกลำตัว

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับ 7 รูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะ สำหรับผู้สูงอายุ ที่เราได้นำมาแบ่งปันกัน อย่าลืมนำไปปรับใช้กับผู้สูงอายุที่บ้านกัน เพราะรูปแบบการออกกำลังกาย ที่กล่าวมา ล้วนช่วยลดโอกาสการบาดเจ็บได้ดี แต่ก็อย่าลืมปรับใช้รูปแบบการออกกำลังกาย ให้เหมาะกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุแต่ละคนกันด้วย

ติดตามเรื่องราว วิธีที่พ่อแม่จะสร้างความเชื่อใจ ให้กับลูก

สนับสนุนโดย แทงบอล บาคาร่า PG SLOT

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *