วิธีแยกแมวจรจัดกับแมวเลี้ยง ภายในญี่ปุ่น

วิธีแยกแมวจรจัดกับแมวเลี้ยง ภายในญี่ปุ่น

วิธีแยกแมวจรจัดกับแมวเลี้ยง ภายในญี่ปุ่น คราวนี้เราก็ขอหยิบยกเรื่องแมว ๆ ของประเทศญี่ปุ่นมาฝาก เหล่าทาสแมวทั้งหลายกันอีกนะคะ เพื่อนๆ ที่เคยไปญี่ปุ่นคงจะสังเกตได้ว่า คนญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่ให้ความเอ็นดู กับแมวเป็นอย่างมาก

ถึงแม้ญี่ปุ่น จะมีระบบการจัดการสัตว์จรจัด ที่ค่อนข้างเข้มงวด แต่เราก็ยังเห็นมีแมวเดินไปมาอยู่ตามพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ กันได้อยู่ แต่เพื่อน ๆ รู้หรือไม่คะว่า แมวที่เราเห็นเดินไปมากันตามข้างถนน

ในประเทศญี่ปุ่นนั้น ไม่ใช่ว่าจะเป็นแมวจรจัด เสียทั้งหมดนะคะ! เราจะชวนเพื่อนๆ มาทำความรู้จักความแตกต่างระหว่าง “แมวท้องถิ่น” กับ “แมวจรจัด” ในญี่ปุ่นค่ะ ว่าแมวทั้ง 2 แบบแตกต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างระหว่าง “แมวท้องถิ่น” กับ “แมวจรจัด”


ก่อนอื่น เรามารู้ถึงความแตกต่างระหว่าง “แมวท้องถิ่น” กับ “แมวจรจัด” สำหรับคนญี่ปุ่นกันก่อนนะคะ ในส่วนของแมวจรจัดนั้น เชื่อว่าทุกคน ก็น่าจะเข้าใจกันเป็นอย่างดีว่า แมวจรจัด คือ

แมวที่ใช้ชีวิต อยู่ภายในบ้านเรือนของคน อาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ด้านนอก โดยไม่ได้มีใครเป็นคนเลี้ยงหรือเป็นเจ้าของโดยตรง ถึงจะมีทาสแมว แอบมาให้ข้าวให้อาหารอยู่บ้าง แต่ถ้าไม่มีใครถือสิทธิ์ เป็นคนเลี้ยงโดยตรงแล้วละก็ คนญี่ปุ่นก็จะถือว่าแมวเหล่านี้เป็นแมวจรจัดค่ะ

ในส่วนของ “แมวท้องถิ่น” นั้น คำจำกัดความ ของแมวท้องถิ่นก็คือ เป็นแมวที่อาศัยอยู่ภายนอกบ้านคน อยู่ในท้องถิ่นหนึ่ง ๆ โดยที่มีคนซึ่งอาศัย อยู่ในท้องถิ่นดังกล่าว ให้การเลี้ยงดูโดยตรงนั่นเองค่ะ พูดให้เห็นความแตกต่าง ระหว่างแมวจรจัดกับแมวท้องถิ่นง่าย ๆ ก็คือ

แมวดังกล่าว เป็นแมวที่มีคนคอยเลี้ยง และดูแลโดยตรง ซึ่งผู้ที่เป็นคนเลี้ยง และดูแลแมวท้องถิ่นนั้นจะไม่ได้หมายถึง ใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือคนในชุมชน ที่แมวดังกล่าวอาศัยอยู่ร่วมกันช่วยดูแล ให้อาหาร และรับผิดชอบนั่นเอง โดยสัญลักษณ์ง่าย ๆ ที่เราสามารถใช้ดู

เพื่อแยกแมวจรจัด กับแมวท้องถิ่น ออกจากกันนั่นก็คือ รอยบากหรือรอย ถูกตัดที่ใบหูของน้องแมว ซึ่งแมวท้องถิ่น จะได้รับการทำสัญลักษณ์ดังกล่าว ไว้ตั้งแต่ในช่วงที่ยังเป็นแมวเด็ก จึงทำให้ แมวท้องถิ่นเหล่านี้ ค่อนข้างเชื่อง และเข้าหาคน มากกว่าแมวจรจัดที่มักจะมีนิสัยระแวงคนนั่นเองค่ะ

ที่มาของ “แมวท้องถิ่น”

วิธีแยกแมวจรจัดกับแมวเลี้ยง ภายในญี่ปุ่น

เป็นที่รู้กันดีว่า ปัญหาแมวจรจัดนั้น เกิดจากการที่คนเลี้ยงแมว นำแมวมาปล่อย หรือไม่ก็แมวหนีออกมาจากบ้านเจ้าของ แล้วหลังจากนั้น ก็แพร่พันธุ์มีลูกต่อไปเรื่อย ๆ และใช้ชีวิตอยู่ภายนอก ตามสัญชาตญาณของสัตว์ ซึ่งอาจไปสร้างความเดือดร้อน ให้กับมนุษย์ที่ไม่เกี่ยวข้องบ้าง

แต่แท้จริงแล้ว ปัญหาแมวจรจัดนี้ ต้นตอก็คือ มนุษย์นั่นเอง จึงเป็นที่มาของการหาทางแก้ไข บรรเทาปัญหา เรื่องแมวจรจัด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ กิจกรรมที่มีชื่อว่า “แมวท้องถิ่น” โดยแนวคิดหลัก ของกิจกรรมแมวท้องถิ่นก็คือ การสร้างสังคมที่มนุษย์ และแมวสามารถอยู่ร่วมกันได้  

โดยมนุษย์ เป็นผู้คอยดูแลระวัง ไม่ให้แมวไปทำลายสภาพแวดล้อม และระบบนิเวศท้องถิ่น และผู้อาศัยอยู่ในท้องถิ่น ก็ไม่ต้องนั่งอดทนต่อผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากแมว โดยวิธีการที่เป็นรูปธรรมของกิจกรรมดังกล่าวก็คือ

การทำหมันคุมกำเนิด ให้กับแมวจรจัด กำหนดพื้นที่ สำหรับการให้อาหาร และกำหนดพื้นที่สำหรับการขับถ่ายของแมว เป็นต้น เพื่อควบคุมจำนวน ของแมวจรจัดไม่ให้เพิ่มมากขึ้น และลดความเสียหาย ผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากแมว

แม้กิจกรรมแมวท้องถิ่น จะเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจ ที่จะแก้ปัญหาแมวจรจัด และสร้างสังคมที่มนุษย์และแมวสามารถอยู่ร่วมกัน ได้อย่างไร้ปัญหา แต่กิจกรรมดังกล่าว ก็มีทั้งเสียงเห็นด้วยและต่อต้านจากคนในท้องถิ่น โดยผู้ที่ต่อต้าน ก็ให้ความเห็นว่า กิจกรรมดังกล่าว

ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องขยะ ซึ่งส่งผลพวง ให้เกิดปัญหาเรื่องแมลง และสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์จากการเข้ามา แย่งอาหารแมว รวมทั้ง ยังอาจส่งผลต่อสุขภาพ ของผู้อยู่อาศัยในชุมชนได้ เช่น อาการแพ้ขนแมว โรคติดเชื้อต่าง ๆ จากสัตว์

รวมไปถึง ปัญหาเรื่องการบุกรุก เข้าไปในพื้นที่ อยู่อาศัยของคนในชุมชน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อไร่สวน ผลผลิตทางการเกษตร หรือสภาพแวดล้อมภาย ในพื้นที่ส่วนบุคคลได้

ถึงแม้กิจกรรมแมวท้องถิ่น จะเป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายที่ดี ในการสร้างสังคมที่แมว และมนุษย์ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข แต่กิจกรรมดังกล่าว จะไม่มีความจำเป็นเลย หากมนุษย์ทุกคน มีความรับผิดชอบต่อชีวิตของสัตว์เลี้ยง ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้าย อย่างถึงที่สุดนะคะ

ติดตามเรื่องราว นิสัยของคนที่ชอบเลี้ยงแมวกับเลี้ยงสุนัข ต่างกันนะ

สนับสนุนโดย แทงบอล บาคาร่า PG SLOT

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *