สรรพคุณของใบกัญชาที่คุณยังไม่ทราบ
สรรพคุณของใบกัญชาที่คุณยังไม่ทราบ
สรรพคุณของใบกัญชาที่คุณยังไม่ทราบ ประเด็นนี้ถือเป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก ๆ และหลายคนคงอยากทราบสรรพคุณของกัญชา ว่ามีประโยชน์ในทางการแพทย์อย่างไรแล้วใช่ไหม งั้นตามมาอ่านกัน รู้จักกัญชา ว่าที่พืชเศรษฐกิจไทย
กัญชาจัดเป็นพืชดอกในตระกูล Cannabaceae มีต้นกำเนิดที่แถบเอเชียกลาง แต่ในปัจจุบันมีการปลูกในหลายพื้นที่ หลายประเทศ โดยกัญชาภาษาอังกฤษเรียกว่า cannabis, Marijuana, Ganja, Hemp เป็นต้น

กัญชา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canabis sativa L. subs indica เป็นพืชที่มีต้นตัวผู้และต้นตัวเมียแยกกัน โดยสารสำคัญในกัญชาคือสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) ซึ่งมีมากกว่า 100 ตัว อีกทั้งยังมีสารเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol-THC)
อยู่มากในส่วนของยอดช่อดอกกัญชา เป็นสารสำคัญที่พบว่ามีประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ก็มีผลกระตุ้นระบบประสาท ดังนั้นกัญชาจึงเป็นพืชที่ควรใช้อย่างระมัดระวัง
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ว่า มูลค่าตลาดกัญชาทั่วโลกจะมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยมีการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ ประมาณ 60% และปัจจุบันเริ่มมีบริษัทในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มระดับโลกสนใจใช้สารสกัดจากกัญชาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์บ้างแล้ว
จึงคาดว่าในอนาคต มูลค่าตลาดกัญชาโลกจะเติบโตและกระจายไปในหลายธุรกิจมากขึ้น ขณะที่ประเทศไทยก็นับเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่อนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกกฎหมาย
ปลดล็อกกัญชาพ้นยาเสพติด = ใช้ได้ถูกกฎหมายจริงหรือ ?
ต้องอธิบายก่อนว่า การปลดล็อกกัญชาออกจากยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เป็นการอนุญาตให้ใช้ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากตามอนุสัญญายาเสพติดระหว่างประเทศยังควบคุมกัญชาให้เป็นยาเสพติด โดยส่วนที่ใช้ได้ และใช้ไม่ได้ ประกอบด้วย
ส่วนของกัญชาที่ถือว่าเป็นยาเสพติด
– เมล็ดกัญชา
– ช่อดอกกัญชา
ส่วนของกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติด
– ใบจริง / ใบพัด ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย
– สารสกัดที่มีสาร CBD เป็นส่วนประกอบ และมีสาร THC ไม่เกิน 2%
– เปลือก ลำต้น เส้นใย
– ราก
– กิ่ง ก้าน
– กากจากการสกัด ต้องมี THC ไม่เกิน 0.2%
ทั้งนี้ ส่วนของกัญชาที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประกอบอาหาร ทำยารักษาโรคตามวิถีพื้นบ้านได้ แต่ห้ามใช้เพื่อการสันทนาการ
นอกจากนี้ กัญชาที่นำมาใช้ต้องมาจากสถานที่ปลูกหรือผลิตในประเทศที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น กรณีนำเข้ากัญชา สามารถนำเข้าได้เฉพาะเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง และเส้นใยแห้ง ส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ สามารถนำเข้าได้โดยขออนุญาตเป็นยาเสพติด

ปลูกกัญชา ผิดกฎหมายไหม ใครขอปลูกกัญชาได้บ้าง ?
เนื่องจากกัญชามีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท แม้จะมีการปลดล็อกให้นำบางส่วนของกัญชามาใช้อย่างถูกกฎหมายได้แล้ว แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะปลูกกัญชาหรือมีไว้ในครอบครองได้นะคะ เพราะการปลูก สกัด ผลิตยังต้องขออนุญาต ดังนั้นประชาชนทั่วไปไม่สามารถปลูกเองได้
โดยจะให้สิทธิปลูกกัญชาได้เฉพาะกลุ่มต่อไปนี้เท่านั้น 1. หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือการเรียนการสอนวิชาด้านการแพทย์, เภสัชศาสตร์, วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์
2. สถาบันอุดมศึกษาที่ศึกษาและวิจัย และเรียนด้านการแพทย์ หรือเภสัชศาสตร์ โดยต้องดำเนินการร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
3. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม สัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ และหมอพื้นบ้านตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยต้องดำเนินการร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
4. ผู้ประกอบอาชีพเกษตรที่รวมตัวเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมาย เช่น สหกรณ์เกษตร, วิสาหกิจชุมชน / วิสาหกิจสังคม โดยร่วมผลิตและพัฒนาสูตรตำรับยากับหน่วยงานรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษาที่วิจัยด้านการแพทย์

กัญชา รักษาโรคอะไรได้บ้าง
สารสกัดกัญชาที่ใช้ทางการแพทย์ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มที่มีข้อมูลวิชาการสนับสนุนชัดเจนว่าได้ประโยชน์ในการรักษา ได้แก่
* ลดอาการคลื่นไส้-อาเจียนในผู้ป่วยที่รับเคมีบำบัด
ภญ. ดร.สุภาพร ปิติพร รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ประโยชน์ของกัญชามีฤทธิ์ต้านอาเจียน ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร
ทั้งนี้ยังมีหลักฐานทางวิชาการที่สนับสนุนอย่างชัดเจนว่า กัญชามีประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดแล้วคลื่นไส้-อาเจียน
* รักษาโรคลมชัก
มีงานวิจัยที่ระบุว่า กัญชามีสรรพคุณรักษาโรคลมชักในเด็กที่รักษายาก หรือในผู้ป่วยเด็กโรคลมชักที่ดื้อต่อการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ
*รักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
ในงานวิจัยมีการระบุสรรพคุณของกัญชาที่ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่มีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง หรือโรคเอ็ม เอส
* ภาวะปวดประสาทที่ใช้วิธีการรักษาอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล โดยผู้ป่วยที่มีอาการปวดเส้นประสาทที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล ก็มีงานวิจัยที่ระบุว่า สารสกัดจากกัญชาอาจช่วยบรรเทาอาการปวด
ของผู้ป่วยได้ ซึ่งข้อมูลจากวารสารเภสัชศาสตร์อีสานระบุว่า สาร THC ในกัญชามีฤทธิ์เป็นยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ และยาต้านออกซิเดชั่น
2. กลุ่มที่น่าจะได้ประโยชน์ในการควบคุมอาการ ซึ่งควรมีข้อมูลวิชาการสนับสนุนหรือวิจัยเพิ่มเติมในประเด็นความปลอดภัยและประสิทธิผล ได้แก่
* โรคพาร์กินสัน
* โรคอัลไซเมอร์
* โรควิตกกังวล ซึ่งพบว่า ในตำรับยาแพทย์แผนไทย มีการนำกัญชามาเป็นยาอยู่หลายตำรับ โดยเฉพาะยานอนหลับที่ช่วยให้ผ่อนคลาย
* โรคปลอกประสาทอักเสบ
* ผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง
* ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
* โรคอื่น ๆ ที่มีข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการว่าน่าจะได้ประโยชน์
ติดตามเรื่องราว เมนูไก่ทอดที่หลากหลาย ลองทำกัน