หญ้าหวานมีสรรพคุณและประโยชน์อะไร
หญ้าหวานมีสรรพคุณและประโยชน์อะไร
หญ้าหวานมีสรรพคุณและประโยชน์อะไร หญ้าหวานมีการใช้กันยาวนาน โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกาใต้ เมื่อปี ค.ศ.1887 ซึ่งในขณะนั้น ยังไม่มีรายงานว่ามันเป็นอันตราย จนกระทั่งต่อมาในปี ค.ศ.1985 ก็ได้มีผลงานวิจัยทางด้านลบของหญ้าหวานออกมา โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ John M. Pezzuto และคณะ ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน
ได้สรุปผลการวิจัยและตีพิมพ์ลงในวารสาร Proc. Nati. Acad. Sci. โดยระบุว่าหญ้าหวานนั้นอันตราย เพราะทำให้เกิดการ Mutagenic สูงมากในหนูทดลอง ซึ่งจากผลงานวิจัยนี้เอง ส่งผลให้องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA)
ออกมาประกาศว่าหญ้าชนิดนี้ไม่ปลอดภัยและห้ามใช้เป็นสารปรุงแต่งในอาหาร และส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย (ขณะนั้นนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี)

ต่อมาในปี ค.ศ.1991 มีนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่า Emily Procinska และคณะ ได้ออกมาค้นคว้ารายงานวิจัยของ John M. Pezzuto ว่าอาจมีข้อผิดพลาด โดยตีพิมพ์ในวารสาร Mutagenesis ระบุว่า หญ้าหวานไม่มีผลทำให้เกิด Mutagenic แต่อย่างใด
ทั้งนี้ได้ทำการทดลองซ้ำอยู่หลายครั้ง หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ได้มีรายงานต่าง ๆ ออกตามมาอีกมากมายที่ระบุว่าผลของ mutagenic ในสารสกัดหญ้าหวานมีผลน้อยมาก หรืออาจจะมีผลบ้างเล็กน้อย
และต่อมาได้มีการตรวจสอบความเป็นพิษพบว่า งานวิจัยส่วนมากระบุว่าหญ้าหวานไม่มีพิษ และไม่มีหลักฐานใด ๆ ระบุว่าหญ้าชนิดนี้อาจจะทำให้เกิดข้อบกพร่องหรือเกิดโรคมะเร็งแต่อย่างใด
สรรพคุณของหญ้าหวาน
- สมุนไพรหญ้าหวานช่วยเพิ่มกำลังวังชา
- ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
- ช่วยในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- ช่วยลดไขมันในเลือดสูง
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน
- ช่วยบำรุงตับ
- ช่วยสมานแผลทั้งภายในและภายนอก
ประโยชน์ของหญ้าหวาน

- ช่วยเพิ่มการรับประทานอาหาร และช่วยลดความขมในอาหารได้
- ใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง
- หญ้าหวานทางเลือกของคนอ้วน ให้ความหวานเหมือนน้ำตาล แต่ไม่ให้พลังงาน รับประทานเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน จึงช่วยในการควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี
- มีการนำหญ้าหวานไปแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่าง ๆ โดยปัจจุบันนิยมบริโภคหญ้าหวานอยู่ด้วยกัน 5 รูปแบบ โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ใบอบแห้ง, ใบแห้งบดสำหรับชงแบบสำเร็จรูป (ชาหญ้าหวาน), ใบสด,
ใบแห้งบดสำหรับใช้แทนน้ำตาล (หญ้าหวานผง), และแบบสารสกัดจากใบแห้งด้วยน้ำ โดยจะนิยมนำมาชงเป็นชาดื่ม รองลงมาก็คือ การนำมาต้มและเคี้ยว แต่จะไม่ค่อยนิยมนำมาบริโภคในแบบผสมกับอาหารเท่าใดนัก - มีการนำสารสกัดจากหญ้าหวาน มาใช้แทนน้ำตาล หรือใช้ทดแทนน้ำตาลบางส่วน เพราะสารสตีวิโอไซด์นั้น มีความทนทานต่อกรด และความร้อนได้เป็นอย่างดี จึงสามารถนำมาใช้ในอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย
เช่น น้ำอัดลม น้ำชาเขียว ขนมเบเกอรี แยม เยลลี ไอศกรีม ลูกอม หมากฝรั่ง ซอสปรุงรส ฯลฯ (ล่าสุดเครื่องดื่ม โคคา โคล่า ก็ได้มีจดสิทธิบัตรและได้ทำการผลิตโดยใช้สารสกัดนี้แล้วเหมือนกัน แต่ยังไม่เห็นจำหน่ายในไทย ซึ่งถ้ามีมาเมื่อไหร่ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับผู้ที่ไม่อยากดื่มน้ำตาลเป็นซอง ๆ) - ในอุตสาหกรรมอาหาร สารสกัดจากหญ้าหวานถือว่ามีข้อดีหลายอย่าง เช่น การไม่ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ เมื่อนำมาใช้กับอาหาร จึงไม่ทำให้อาหารเกิดเน่าบูด ไม่ทำให้อาหารเกิดสีน้ำตาลเมื่อผ่านความร้อนสูง ๆ
และที่สำคัญก็คือ จะไม่ถูกดูดซึมในระบบย่อยอาหาร จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และโรคหัวใจ - สารสตีวิโอไซด์ นอกจากจะใช้ในอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำไปใช้แทนน้ำตาลในการผลิตยาสีฟันอีกด้วย
หญ้าหวาน อันตรายหรือไม่ ?

มีความกังวลว่า สารสกัดดังกล่าว สามารถทำให้เป็นหมันได้หรือไม่ ? แล้วมันจะไปขัดขวางการดูดซึมของสารอาหารอื่น ๆ ในร่างกายด้วยหรือเปล่า ? เพราะเคยมีรายงานระบุว่าชาวปารากวัยกินหญ้าหวาน แล้วทำให้เป็นหมัน หรือไปลดจำนวนของอสุจิลง จนทำให้ประเทศไทย ได้ใช้ประเด็นนี้ ในการอ้างไม่อนุญาต ให้มีการใช้หญ้าหวาน
ซึ่งจากรายงานต่าง ๆ ที่ประชุมได้สรุปข้อมูลจากรายงานต่าง ๆ และได้มีการยืนยันว่าสารสกัดดังกล่าว เมื่อป้อนในหนูทดลองถึง 3 ชั่วอายุ จำนวน 3 รุ่น ไม่พบการก่อการกลายพันธุ์แต่อย่างใด
หมายความว่า หนูทดลองยังคงขยายพันธุ์ได้เป็นปกติ และในญี่ปุ่นก็ไม่ได้มีการห้ามใช้หรือกลัวประเด็นนี้ เพราะมีการใช้มายาวนานถึง 17 ปี โดยไม่พบว่ามีแนวโน้มความเป็นพิษแต่อย่างใด
ติดตามเรื่องราว อาหารเป็นพิษ เกิดจากอะไร
สนับสนุน โดย Joker Slot, Sa game, Sexy Game, Joker Game, UFABET 72, Esport, Sa gaming, Sexy gaming, Sa gaming, joker gaming, Joker slot , Slot game, Joker slot, Joker slot