อันตรายจากโควิดลงปอด มีความรุนแรงยังไง
อันตรายจากโควิดลงปอด มีความรุนแรงยังไง
อันตรายจากโควิดลงปอด มีความรุนแรงยังไง โควิดลงปอดอันตรายไหม รุนแรงแค่ไหน โรค COVID-19 จะก่อความรุนแรงแค่ไหนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หลัก ๆ คือ
1. ปริมาณเชื้อที่ได้รับ
- ผู้ที่ได้รับเชื้อแต่ไม่มีอาการ อาจพบการอักเสบของปอดได้เมื่อเอกซเรย์
- ผู้ที่ได้รับเชื้อปริมาณน้อย อาจมีอาการคล้ายไข้หวัด ปวดเมื่อยตามตัว มีไข้ หายเองได้ บางรายอาจพบการอักเสบในปอด
- ผู้ที่ได้รับเชื้อปริมาณมาก เชื้อจะลงไปอยู่ในถุงลม ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบติดเชื้อ มีอาการเหนื่อย หายใจไม่ทัน ต้องได้รับเครื่องช่วยหายใจ
2. ภูมิต้านทานของผู้ติดเชื้อ
หากเป็นคนที่มีภูมิต้านทานแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ถ้าเชื้อลงปอดก็มีโอกาสที่จะรักษาหายได้ในเวลาไม่นาน แต่สำหรับคนที่มีภูมิต้านทานไม่แข็งแรง ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรงกว่าคนกลุ่มอื่นจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่น
- ผู้สูงอายุ เนื่องจากความเสื่อมของร่างกายและระบบภูมิคุ้มกันลดลง
- คนอ้วน มีไขมันใต้ผิวหนังหรือใต้ช่องท้องมาก คนกลุ่มนี้ปอดจะทำงานลดลง เสี่ยงต่อการหายใจลำบาก จึงมีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงจากโรคโควิด 19 สูงถึง 7 เท่า
- ผู้มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคตับ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ฯลฯ
- ผู้ป่วยโรคปอด เนื่องจากปอดทำงานน้อยกว่าปกติอยู่แล้ว เมื่อถูกเชื้อไวรัสทำลายอีก ระบบร่างกายจะเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว
- คนที่สูบบุหรี่ เพราะปอดถูกทำลายอย่างหนัก มีโอกาสที่จะมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงจากโควิด 19 มากกว่าคนทั่วไปถึง 1.5 เท่า และมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าด้วย
3. ระยะเวลาที่ได้รับการรักษา
คนที่เชื้อลงปอดแล้วได้รับการตรวจวินิจฉัยเร็ว ได้ยารักษาตั้งแต่ต้น จะมีโอกาสหายได้ แต่หากได้รับการรักษาล่าช้า เชื้อจะลุกลามและสร้างความเสียหายให้ปอดมาก จนไม่สามารถฟื้นฟูปอดกลับมาได้เหมือนเดิม
เมื่อปอดเสียหายอย่างหนักจะส่งผลต่อระบบหายใจ ทำให้เกิดภาวะหายใจล้มเหลว และอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ได้อีก จึงมีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่าโควิดลงปอดรักษายังไง

หากตรวจพบเชื้อโควิดลงปอดแล้วจะต้องเข้าแอดมิตในโรงพยาบาลทันที โดยแพทย์จะทำการรักษา ดังนี้
การใช้ยา
สำหรับมาตรฐานการรักษาในประเทศไทย จะให้ยาฟาวิลาเวียร์ (Favilavir) เพื่อต้านไวรัสเป็นเวลา 5-10 วัน ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของร่างกายและปัจจัยเสี่ยง กรณีมีอาการรุนแรงขึ้น แพทย์จะพิจารณาให้ยาอื่นร่วมด้วย คือ
– ให้ยาลดการอักเสบคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ร่วมกับยาฟาวิลาเวียร์
– หากมีอาการปอดบวม หายใจเร็วเกินอัตราการหายใจตามกำหนดอายุ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาโลปินาเวียร์/ริโตนาเวียร์ (Lopinavir/ritonavir, LPV/r) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสเอดส์และยาต้านไข้หวัดใหญ่ ร่วมกับยาฟาวิลาเวียร์ และยาลดการอักเสบคอร์ติโคสเตียรอยด์
– กรณีผู้ป่วยตั้งครรภ์ แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) แทนฟาวิลาเวียร์ เนื่องจากมีข้อมูลความปลอดภัยของยาเรมเดซิเวียร์ในหญิงตั้งครรภ์ และไม่มีรายงานผลร้ายในทารก
ให้นอนคว่ำ
เมื่อผู้ป่วยมีอาการรุนแรง และมีปอดอักเสบทั้ง 2 ข้าง ระดับออกซิเจนต่ำ แพทย์จะให้นอนคว่ำ เพื่อให้ถุงลมปอดขึ้นมาอยู่ด้านบน จึงช่วยให้ปอดแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น ปริมาณออกซิเจนในเลือดเพิ่มขึ้น เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยบรรเทาความรุนแรงของอาการปอดอักเสบ
ซึ่งถ้าผู้ป่วยนอนคว่ำไประยะหนึ่งแล้วมีอาการดีขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ
อย่างไรก็ตาม กรณีผู้ป่วยมีปอดอักเสบข้างเดียว หรือมีระดับออกซิเจนปกติ การนอนคว่ำจะไม่ได้ช่วยในการรักษาเท่าใดนัก
ให้ออกซิเจน
ในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เช่น มีภาวะลดลงของออกซิเจน ปอดอักเสบอย่างรุนแรง แพทย์จะให้ยา ร่วมกับการให้ออกซิเจนด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจ หรืออาจใช้เครื่อง ECMO ซึ่งก็คือเครื่องปอดและหัวใจเทียมแบบเคลื่อนย้าย
ช่วยดึงเลือดดำจากร่างกายมาฟอก หรือเพิ่มปริมาณออกซิเจน แล้วปั๊มเลือดแดงกลับเข้าสู่ร่างกาย จึงช่วยพยุงการทำงานของปอดและหัวใจเป็นการชั่วคราว
รักษาตามภาวะแทรกซ้อน
กรณีมีอาการแทรกซ้อนที่อวัยวะอื่น ๆ ด้วย ก็จะเพิ่มการรักษาตามอาการนั้น เช่น หากมีปัญหาไตวายเพราะปอดอักเสบมากจนไตรับมือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายไม่ไหว แพทย์ก็ต้องฟอกไต ซึ่งเป็นเพียงวิธีรักษาแบบประคองอาการเท่านั้น แต่อาการจะดีขึ้นได้เมื่อไรก็ขึ้นอยู่กับว่าเชื้อโควิดจะหมดจากปอดไปเมื่อไหร่ผลเสียเมื่อโควิดลงปอด จะกลับมาเหมือนเดิมได้ไหม

กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปอดอักเสบเพียงเล็กน้อย และร่างกายแข็งแรงดี เมื่อไวรัสเข้าไปจู่โจมระบบทางเดินหายใจ อาจทำลายปอดได้ไม่มาก เมื่อหายจากการติดเชื้อ ปอดจะกลับมาทำงานได้ตามปกติ หรือประสิทธิภาพลดลงไม่มาก
ทว่าสำหรับคนที่ปอดได้รับความเสียหายรุนแรง เกิดรอยแผลจำนวนมาก เซลล์ของเนื้อปอดแทบจะฟื้นฟูไม่ได้เลย ดังนั้น แม้จะรักษาโควิดจนหาย แต่สมรรถภาพการทำงานของปอดย่อมลดลงแน่นอน จึงส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น
- ออกกำลังกายได้ไม่เต็มที่ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเร็วขึ้น
- ถูกจำกัดการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้แรงเยอะ หรือทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ไม่เท่าเดิม
- หายใจไม่สะดวก หรือรู้สึกหายใจไม่อิ่ม ไม่เต็มปอด เพราะปอดรับออกซิเจนได้ไม่เท่าเดิม
วิธีฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำให้ผู้ป่วยโควิด ฟื้นฟูสมรรถภาพปอดด้วยการฝึกหายใจ เนื่องจากเชื้อไวรัสที่ลงปอดส่งผลให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก และมีเสมหะมากขึ้น แต่การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดด้วยตัวเองจะมีประโยชน์ต่อผู้ป่วย อาทิ
– ลดอาการเหนื่อยและการหายใจลำบาก
– เพิ่มความสามารถในการหายใจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
– ช่วยขับเสมหะ
– ป้องกันการเกิดภาวะปอดแฟบ
สำหรับผู้ป่วยที่สามารถออกกำลังกายฟื้นฟูปอดได้ คือ
– ผู้ป่วยติดเชื้อแบบไม่มีอาการ
– ผู้ป่วยติดเชื้อแต่อาการไม่รุนแรง
– ผู้ป่วยติดเชื้อ อาการไม่รุนแรง แต่มีโรคประจำตัว
– ผู้ป่วยติดเชื้อ มีอาการปอดอักเสบไม่รุนแรง
ติดตามเรื่องราว อาการโควิด เมื่อเชื้อลงสู่ปอด จะเป็นอย่างไร