อาการตกหลุมรัก เกิดจากอะไร

อาการตกหลุมรัก เกิดจากอะไร

อาการตกหลุมรัก เกิดจากอะไร หลาย ๆ คน คงจะเคยมีอาการนี้เกิดขึ้นกับตัว อาจจะไม่ทันตั้งตัว เป็นรักแรกพบ หรือเพื่อนสนิท ที่อยู่มาวันนึง คุณอาจพึ่งจะรู้ตัว ว่ากำลังตกหลุมรักเค้าอยู่ อาการอาจจะใจเต้นแรง มือสั่น เหงื่อออก ไม่เป็นตัวของตัวเอง ในเวลาที่ได้เจอได้ใกล้ อาการเหล่านี้ เกิดขึ้นได้ยังไง เพราะอะไร มาดูกัน

สำหรับสมอง อาการตกหลุมรัก มีการทำงานของ 3 ระบบที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้น

  1. ความใคร่ (แรงขับทางเพศ)

เทสโทสเทอโรน ฮอร์โมนเพศชาย เอสโตรเจน ฮอร์โมนเพศหญิง คือแรงขับเคลื่อนความใคร่ในมนุษย์ มีศูนย์การควบคุม ที่สมองส่วนไฮโปทาลามัส ส่งผลต่อพฤติกรรม การหาคู่ผสมพันธุ์ของมนุษย์และสัตว์

  1. ความหลงใหล (การหลงรัก)

เมื่อมนุษย์อยู่ในอาการ “ตกหลุมรัก” มักจะหลงลืมอะไร ๆ ในชีวิตได้ อย่างมีความสุขจนลืมกินอาหารหรือ

เสียใจมากจนนอนไม่หลับ แม้แต่ใช้เวลานึกฝันถึงคนรักได้หลาย ๆ ชั่วโมง

การทำงานของสมองเรื่องความหลงใหลเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทกลุ่มหนึ่งที่ชื่อว่า “โมโนเอมีน” ได้แก่

าการตกหลุมรัก เกิดจากอะไร
  • โดปามีน (Dopamine) สารแห่งความสุข และความพึงพอใจ ที่หลั่งออกมาเมื่อร่างกายเรา ได้รับสิ่งที่เราปรารถนา นอกจากนี้ โดปามีน ยังถูกกระตุ้นด้วยสารเสพติดอย่างโคเคน และนิโคตินในบุหรี่
  • อีพิเนฟริน (Epinephrine) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ อะดรีนาลีน คุณคงเคยมีอาการเขินอายจนหน้าแดง และหัวใจเต้นแรง เมื่อคุณได้พบกับใครสักคนที่คุณถูกใจ นั่นเป็นเพราะคุณถูกกระตุ้นจากฮอร์โมนชนิดนี้
  • เซโรโทนิน (Serotonin) หนึ่งในสารชีวเคมีที่สำคัญ ต่อกลไกการตกหลุมรัก ที่ส่งผลต่ออารมณ์และการแสดงออกของเรา ในขณะที่สมองหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนิน เราสามารถแสดงพฤติกรรมบางอย่าง ออกมาแบบไม่รู้ตัว ในขณะที่เรารู้สึกรักใครสักคน
  1. ความผูกพัน (ความสัมพันธ์ระยะยาว)

ความผูกพัน จะเกิดขึ้นหลังจากเรา ประสบความสำเร็จ จากขั้นตอนการหลงรัก เมื่อได้ใช้เวลาคบกัน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง สมองของมนุษย์ จะปรับเข้าสู่โหมด การสร้างความสัมพันธ์ เนื่องจาก ไม่ต้องการถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมน แห่งความหลงใหลต่อไป

เพื่อให้ทั้งคู่ ปรารถนาจะอยู่ด้วยกัน และพร้อมดูแลทารกที่จะเกิดมา สิ่งกระตุ้นให้เกิดความสัมพันธ์ระยะยาว เกิดจากฮอร์โมนสองชนิด ได้แก่

  • ออกซิโตซิน (Oxytocin) เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับ ระดับความลึกซึ้งในความสัมพันธ์ เช่น กิจกรรมทางเพศ การคลอด และการให้นมแก่ทารก เป็นต้น การศึกษาทางสังคมวิทยารายงานว่า ออกซิโตซิน มีผลต่อระดับความลึกซึ้ง ในความสัมพันธ์ของคู่รัก กล่าวคือ คู่รักที่มีปฏิสัมพันธ์ หรือทำกิจกรรมร่วมกันบ่อย ๆ ฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกหลั่งออกมาบ่อยครั้ง กว่าคู่รักที่ไม่ค่อยได้ใช้เวลาร่วมกัน
  • วาโสเปรสซิน (Vasopressin) จากการศึกษาในหนูทดลองพบว่า กลุ่มของหนูทดลองตัวผู้ที่ได้รับวาโสเปรสซิน มีพฤติกรรมปกป้องตัวเมีย และใช้เวลาอยู่กับตัวเมียมากกว่ากลุ่มตัวผู้ ที่ไม่ได้รับฮอร์โมน สรุปได้ว่า ฮอร์โมนชนิดนี้ มีบทบาทสำคัญต่อคู่รัก ส่งผลให้คู่รัก ปรารถนาจะใช้ชีวิตร่วมกัน

นอกจากฮอร์โมนที่กล่าวมาแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผล ให้คนเราตกหลุมรักคือ “ยีน” จากการศึกษา ในเชิงวิวัฒนาการพบว่า เพศเมีย มักจะเลือกเพศผู้ที่ดูแข็งแรง และสง่างาม เนื่องจากเป็นเครื่องแสดงออก ถึงความสมบูรณ์ของยีน ที่จะถ่ายทอดต่อไปยังรุ่นลูก และทำให้ทารกมีอัตราการรอดสูงกว่า

แม้ว่าวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่ช่วยอธิบายกลไกพื้นฐาน การเกิดความรักได้ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นเรื่องที่แปรผัน ไปตามบริบท ของแต่ละคนและสังคม

3 ความเปลี่ยนแปลงเมื่อคุณอยู่ในสภาวะ “ตกหลุมรัก”

1. ชอบความโรแมนติก ฟังเพลงรักแล้วเคลิ้มตามมีความสุขจากงานวิจัยของประเทศเนเธอร์แลนด์พบว่า ความรู้สึกโรแมนติก ของคนที่มีความรัก จะช่วยให้มีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นกว่าเดิม มองอะไรก็จะดูโรแมนติกไปแบบไม่มีเหตุผล

2. บางคนมีอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย เมื่อตกหลุมรัก บางคนมีอาการถึงขั้นนอนไม่หลับ เพราะคิดวนเวียน อยู่กับเรื่องราวความสัมพันธ์ มีงานวิจัยของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า โดยเฉลี่ยแล้ว คนที่มีความรักจะนอนหลับน้อยลง 1 ชม. แม้ว่าจะนอนน้อยลง แต่ผู้ที่เข้าร่วมการทดลองนั้น ไม่ได้มีอาการเหนื่อยล้าเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

3.น้ำเสียงเปลี่ยนไป จากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันพบว่า น้ำเสียงของคู่ที่กำลังอินเลิฟจะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยผู้หญิงจะมีเสียงที่ต่ำลง ผู้ชายจะมีเสียงที่สูงขึ้น อาจเป็นเพราะการปรับตัวเข้าหากันก็เป็นได้

4.มีความกังวลและเป็นห่วงเป็นใยมากขึ้นเกินกว่า 70%

ติดตามเรื่องราว วิธีดื่มเบียร์ ไม่ให้อ้วน

สนับสนุน โดย Joker SlotSa gameSexy GameJoker GameUFABET 72EsportSa gamingSexy gaming, Sa gamingjoker gaming, Joker slot , Slot gameJoker slot, Joker slot

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *