อาการปวดประจำของผู้หญิง
อาการปวดประจำของผู้หญิง
อาการปวดประจำของผู้หญิง ผู้หญิงจำนวนมากมีอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน และระหว่างมีประจำเดือนในช่วงวันแรกๆ อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea) มีตั้งแต่อาการปวดหน่วงหรือปวดเกร็งเล็กน้อย ไปจนถึงอาการปวดขั้นรุนแรงบริเวณท้องน้อย
และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดหลังด้านล่าง คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก ท้องเสียหรือท้องผูก ท้องอืด เวียนศีรษะและปวดศีรษะ เป็นต้น
สาเหตุของการปวดประจำเดือน
โดยเฉลี่ยทุกๆ 28 วัน หากไข่ไม่มีอสุจิมาผสม เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน อาการปวดประจำเดือนเกิดจากสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน ชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน (prostaglandin)
ซึ่งก่อตัวขึ้นที่เยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างมีประจำเดือน โพรสตาแกลนดินทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวและหดเกร็งคล้ายกับอาการเจ็บปวดขณะคลอดบุตร ,SA Casinoนอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย หากร่างกายหลั่งสารนี้ในปริมาณมากจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงของอาการบีบรัด ทำให้รู้สึกปวดประจำเดือนยิ่งขึ้น
ประเภทของอาการปวดประจำเดือน
อาการปวดประจำเดือนแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน
- ปวดประจำเดือนประเภทปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) เป็นอาการปวดประจำเดือนที่พบบ่อยที่สุด สาเหตุมักเกิดจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารโพรสตาแกลนดินมากเกินไป
- ปวดประจำเดือนประเภททุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) เกิดจากภาวะผิดปกติของมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ เช่น
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก ซึ่งเมื่อเจริญผิดที่แต่ยังทำหน้าที่สร้างประจำเดือนเหมือนเดิม ทำให้เลือดประจำเดือนมีสีแดงคล้ำ ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงและมีบุตรยาก
- เยื่อบุมดลูกเจริญภายในกล้ามเนื้อมดลูก (Adenomyosis) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดประจำเดือนอย่างมาก และ/หรือ เลือดประจำเดือนมากและยาวนานกว่าปกติ
- เนื้องอกมดลูก (uterine fibroids) มักไม่ใช่เนื้อร้าย ขนาดมีตั้งแต่เล็กมากไปจนถึงขนาดใหญ่ หากมีขนาดใหญ่ มักทำให้มีเลือดประจำเดือนออกมามากหรือประจำเดือนกระปริบกระปรอยนานเป็นสัปดาห์ พร้อมกับอาการปวดประจำเดือนหรือปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรัง
- ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease) เป็นการติดเชื้อบริเวณระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง ส่วนใหญ่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากไม่รักษาให้หายขาด บาคาร่า ออนไลน์ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องระหว่างมีประจำเดือนได้
- ภาวะปากมดลูกตีบ (Cervical stenosis) เกิดจากปากมดลูกแคบเกินไป ทำให้เลือดประจำเดือนไหลได้ช้าแต่หากรูปิดสนิท จะทำให้ของเหลวคั่งค้างภายในโพรงมดลูก ทำให้เกิดอาการปวดท้องมากและเรื้อรัง

การป้องกันและบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
หากมีอาการปวดประจำเดือน ผู้ป่วยสามารถดูแลรักษาตัวเองได้โดย
- ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบท้องน้อยและหลัง
- อาบน้ำอุ่น
- ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น โยคะหรือนั่งสมาธิ
- รับประทานยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) ควรรับประทานเมื่อเริ่มมีอาการปวดหรือก่อนมีอาการปวด การรับประทานยาแก้ปวดอาจมีผลข้างเคียง ดังนั้นควรใช้เมื่อมีอาการปวดอย่างรุนแรงเท่านั้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานผักและผลไม้ ลดปริมาณอาหารที่มีไขมัน เกลือ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และขนมหวาน
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
สำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่อาการปวดประจำเดือนเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคภัยที่ร้ายแรงกว่าอาการปวดประจำเดือนทั่วไป
- รับประทานยาแล้วแต่ยังไม่หายปวด
- อาการปวดประจำเดือนแย่ลงเรื่อยๆ
- มีอายุมากกว่า 25 ปีและรู้สึกปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงเป็นครั้งแรก
- มีไข้พร้อมปวดประจำเดือน
- เลือดประจำเดือนไหลออกมามากว่าปกติ โดยต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมง
- รู้สึกปวดท้องน้อยถึงแม้ไม่มีประจำเดือนก็ตาม
- มีอาการติดเชื้อ เช่น ตกขาวมีกลิ่น อาการคันบริเวณปากช่องคลอด เลือดประจำเดือนมีสีแปลกไปจากปกติ
- มีบุตรยาก
ปวดประจำเดือน ปัญหาโลกแตกของผู้หญิงที่นอกจากจะบรรเทาได้ด้วยการกินยาแก้ปวด ยังสามารถลดอาการปวดได้ด้วยวิธีเหล่านี้ด้วยนะ กี่ครั้งกี่หนที่ต้องทนกับ “อาการปวดประจำเดือน” จนตัวขดตัวงอทุกเดือน ถ้าลำพังนานๆ ทีถึงจะปวดก็คงพอกินยาบรรเทาได้ แต่สำหรับใครที่ปวดหนัก ปวดบ่อย ปวดทุกครั้งและบางทีก็ปวดหลายวันติดต่อกัน เลยไม่กล้ากินยาแก้ปวดถี่ๆ เพราะกลัวไตจะพังก่อนวัยอันควร นี่คือวิธีแก้ปวดประจำเดือนแบบไม่ต้องพึ่งยาที่เราอยากแนะนำ
ออกกำลังกายเบาๆ
สาวๆ หลายคนเข้าใจว่าช่วงมีประจำเดือนไม่ควรออกกำลังกาย เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายอ่อนเพลียและเสี่ยงต่อการเป็นลมได้ง่าย Sexyslotแต่จริงๆ แล้วผู้หญิงทุกคนสามารถออกกำลังกายได้ขณะมีประจำเดือน เพียงแต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับความแข็งแรงของตัวเอง อาจจะเลือกเป็นกิจกรรมที่ไม่หนักมาก
เช่น การเดินเร็ว หรือ เล่นโยคะในท่าง่ายๆ ซึ่งการออกกำลังกายช่วงมีประจำเดือนนั้นไม่เพียงแต่ช่วยปรับอารมณ์ในวันที่ฮอร์โมนแปรปรวน แต่สาร Endorphins ที่หลั่งออกมา… ยังช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ดีอีกด้วย
ประคบร้อน
กระเป๋าประคบร้อน…น่าจะเป็นไอเท็มที่สาวๆ ทุกคนมีติดบ้านหรือที่ทำงาน เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลดี เนื่องจากความร้อนมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อที่ตึงอยู่ค่อยๆ ผ่อนคลาย ทำให้อาการปวดประจำเดือนทุเลาลง รวมไปถึงการอาบน้ำอุ่นก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้

จิบเครื่องดื่มอุ่นๆ ที่ไม่ใช่ชาหรือกาแฟร้อน
นอกจากการสัมผัสความร้อนจากภายนอก การปรับให้ภายในร่างกายอุ่นขึ้นด้วยการจิบเครื่องดื่มอุ่นๆ ระหว่างวันก็ช่วยลดอาการปวดประจำเดือนลงได้ แต่ไม่ควรดื่มเป็นชาหรือกาแฟร้อน เพราะเครื่องดื่มประเภทคาเฟอีนจะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ส่งผลให้อาการปวดประจำเดือนเพิ่มความรุนแรงขึ้นได้ ควรเลือกเป็นน้ำอุ่นธรรมดา น้ำผึ้งผสมมะนาว หรือน้ำขิงอุ่นๆ จะดีกว่า
เน้นกินอาหารกลุ่มที่มีแมกนีเซียม
รู้หรือไม่ว่า แค่เลือกกินให้ถูกก็ช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้โดยไม่ต้องพึ่งยาเลยทีเดียว ซึ่งอาหารที่เหมาะสำหรับช่วงมีประจำเดือน คือกลุ่มที่มีแมกนีเซียม เช่น ผักโขม ผักปวยเล้ง ตำลึง หรือกล้วย เพราะแมกนีเซียมมีส่วนช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเกร็งในช่องท้อง ทำให้อาการปวดประจำเดือนทุเลาลงได้
นวดบริเวณท้องน้อยเบาๆ
หากมีอาการปวดท้องประจำเดือนขณะนั่งทำงาน ก็สามารถบรรเทาด้วยการนวดบริเวณท้องน้อยเบาๆ โดยนวดวนเป็นวงกลมเพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณท้องผ่อนคลายลง อาการปวดประจำเดือนจากการตึงของกล้ามเนื้อก็จะลดลงตามไปด้วย
การฝังเข็มระงับปวด
อีกวิธีที่ใช้เทคนิคทางการแพทย์เข้าช่วย ก็คือการฝังเข็มระงับปวด เป็นการฝังเข็มเพื่อกระตุ้นการทำงานของส่วนต่างๆ ในร่างกาย ช่วยให้ระบบเลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น มดลูกคลายตัวจากการบีบรัด ป้องกันอาการปวดประจำเดือน… หรือช่วยให้อาการปวดประจำเดือนไม่รุนแรงมากนัก
ติดตามเรื่องราวก่อหน้านี้ได้ที่นี่