อาการโควิด เมื่อเชื้อลงสู่ปอด จะเป็นอย่างไร
อาการโควิด เมื่อเชื้อลงสู่ปอด จะเป็นอย่างไร
อาการโควิด เมื่อเชื้อลงสู่ปอด จะเป็นอย่างไร อาการโควิดลงปอดเป็นอย่างไร ป่วยแล้วเป็นทุกคนไหม มาดูวิธีเช็กว่าเชื้อลงปอดหรือยังเบื้องต้น เพื่อตรวจสอบตัวเองก่อน ปอดอักเสบลุกลาม อาการโควิดที่พบส่วนใหญ่ คือ มีไข้ ไอ เจ็บคอ คล้ายกับไข้หวัดทั่วไป
ซึ่งหากภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรงพอจะสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัส และรักษาตัวให้หายได้เอง ทว่าความอันตรายของโรค COVID-19 อยู่ตรงที่เชื้อไวรัสนี้มีโอกาสลงปอดได้ง่าย โดยเฉพาะสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 ที่แพร่ระบาดระลอกใหม่
นอกจากจะติดต่อง่ายกว่าเดิมแล้ว กลับพบคนหนุ่มสาวมีอาการปอดอักเสบมากขึ้นด้วยทั้งที่บางคนไม่มีอาการป่วยใด ๆ เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าโควิดลงปอดแล้วหรือยัง หากใครกำลังป่วยอยู่ รีบสังเกตตัวเองเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว

โควิดลงปอดคืออะไร
คุณหมอจากเพจ Drama-addict ให้ข้อมูลไว้ว่า ตามปกติเวลาที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นหวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือโควิด 19 จะแบ่งตำแหน่งที่ติดเชื้อเป็นการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน กับ การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง
– กรณีติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน คือ บริเวณปาก คอ จมูก อาการจะไม่รุนแรงมาก เช่น มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอ
– กรณีติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง คือ ตั้งแต่หลอดลม ลงไปถึงปอด จะเรียกว่าโควิดลงปอด มีอาการรุนแรงกว่าการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น เนื้อเซลล์ปอดและถุงลมบางส่วนได้รับความเสียหาย ทำให้หายใจลำบาก ถ้าเอกซเรย์หรือทำ CT Scan จะพบความเปลี่ยนแปลงในปอด และหากรุนแรงมากอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ติดโควิดแล้วมีโอกาสแค่ไหนที่เชื้อจะลงปอด
โควิดลงปอดทุกคนไหม ? ประเด็นนี้ต้องบอกว่า ข้อมูลในปี 2563 พบผู้ป่วยโควิดราว 80% มีอาการไม่หนัก กล่าวคือแทบไม่แสดงอาการ หรือบางคนอาจจะมีไข้ ไอ จามทั่วไป เชื้อไม่ค่อยลงปอด แต่ในบางคนอาจมีปอดอักเสบอ่อน ๆ ได้ ซึ่งไม่รุนแรง ขณะที่ผู้ป่วยอีก 20% เชื้อจะลงปอด และมีอาการรุนแรงขึ้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับโควิดสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 ที่เพิ่งระบาดในไทยเมื่อปี 2564 นั้น เชื้อมีความรุนแรงกว่าเดิม อยู่ในร่างกายได้เป็นเวลานานขึ้น อีกทั้งจับกับผิวเซลล์มนุษย์ได้ดีกว่าสายพันธุ์ที่เคยระบาดในไทย ทำให้ผู้ป่วยมีปริมาณเชื้อในโพรงจมูกเยอะขึ้น
ดังนั้น เมื่อหายใจเข้าไป โอกาสที่เชื้อจะเข้าปอดก็ง่ายกว่าเดิม จึงพบผู้ติดเชื้อมีอาการปอดอักเสบเร็วขึ้นและมากขึ้นไปด้วย แม้แต่วัยรุ่นที่สุขภาพแข็งแรงแทบไม่แสดงอาการป่วย แต่เมื่อเอกซเรย์ปอดกลับเจอฝ้าที่แสดงถึงภาวะปอดอักเสบ
โดยการระบาดรอบนี้ พบคนที่มีรอยโรคปอดอักเสบ ร่วมกับไข้ ไอ หรือหอบเหนื่อย ได้ประมาณ 30-50% ขึ้นกับระยะเวลาที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ หลังได้รับเชื้อหรือเริ่มมีอาการ รวมทั้งโรคประจำตัวของผู้ป่วยด้วยอาการโควิดลงปอด มีอะไรเป็นสัญญาณบ้าง

หลายคนสงสัยว่า โควิดลงปอดภายในกี่วัน ? จากข้อมูลพบว่า มีโอกาสที่เชื้อจะลงปอดและมีอาการปอดอักเสบระยะต้น ในช่วง 5 วัน หลังได้รับเชื้อหรือเริ่มมีอาการ และปอดอักเสบระยะที่ 2 จะอยู่ในช่วง 10-15 วัน ซึ่งอาการ แสดงที่เป็นสัญญาณว่าเชื้อไวรัสโคโรนา อาจเข้าสู่ปอดแล้วก็คือ
- ไอแห้ง ๆ มีอาการไอมากขึ้น
- เหนื่อยง่ายขึ้น สังเกตได้จากเวลาทำกิจกรรมอะไรก็ตาม ที่เคยทำได้ปกติ แต่ตอนนี้เมื่อทำแล้วจะรู้สึกเหนื่อยเร็วกว่าเดิม
- หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก
- หายใจติดขัด หายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม เนื่องจากเชื้อที่ลงปอดจะทำให้เกิดการอุดกั้นบริเวณถุงลมปอด ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนและลำเลียงออกซิเจน
- พูดติดขัด ขาดห้วง
- ระดับออกซิเจนในเลือดลดต่ำลง เพราะเชื้อที่อุดกั้นถุงลมปอด ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไม่ดี จึงส่งออกซิเจนไปยังกระแสเลือดน้อยกว่าปกติ
หากมีอาการที่กล่าวมานี้ควรรีบแจ้งแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากการระบาดระลอกใหม่พบเชื้อลุกลามในปอดเร็วมาก โดยแพทย์จะเอกซเรย์ปอด หรือ CT Scan เพื่อวินิจฉัยภาวะปอดอักเสบก่อนทำการรักษา
ระวัง ! ภาวะ Happy Pneumonia
ปอดอักเสบไม่แสดงอาการ

แม้อาการที่กล่าวไปข้างต้นจะเป็นสัญญาณเตือนโควิดลงปอด แต่ทราบไหมว่า ยังมีผู้ติดเชื้อโควิดจำนวนไม่น้อยที่มีภาวะ Happy Pneumonia หรือเป็นปอดอักเสบแต่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการจำพวกหอบเหนื่อย หรือหายใจติดขัดให้เห็นเลย ต้องเอกซเรย์ปอดเท่านั้น
จึงจะเห็นว่าปอดมีร่องรอยของโรคแล้ว โดยแสดงร่วมกับภาวะ Silent Hypoxemia คือค่าออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ แต่ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ ทว่าเมื่อเป็นหลายวันเข้า จนอาการมาถึงจุดหนึ่ง จะเหนื่อยแบบรุนแรง จนระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในเวลาไม่นาน ภาวะเหล่านี้
ทำให้ผู้ป่วยโควิด 19 มักไม่รู้ตัวว่าเป็นปอดอักเสบ เพราะไม่มีอาการใด ๆ แต่เมื่อแสดงอาการ ผู้ป่วยจะทรุดหนักเฉียบพลันและมีโอกาสที่จะรักษาไม่ทัน นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญว่า ทำไมผู้ป่วยควรอยู่ในโรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลสนาม เพื่อสังเกตอาการทุกวัน
รวมทั้งตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด หากมีความผิดปกติ แพทย์จะเข้ามาช่วยเหลือได้เร็ววิธีเช็กว่าเชื้อลงปอดหรือยัง ด้วยการวัดค่าออกซิเจนในเลือด
ติดตามเรื่องราว สถานที่ท่องเที่ยวไม่ควรพลาด ในวันหยุด