อาการ Lockdown Brain Fog หากอยู่บ้านนานๆ

อาการ Lockdown Brain Fog หากอยู่บ้านนานๆ

อาการ Lockdown Brain Fog หากอยู่บ้านนานๆ แม้เราจะไม่เจอการล็อกดาวน์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่สถานการณ์แบบนี้ก็คงยังไม่น่าไว้วางใจ หลายบริษัทจึงยังมีมาตรการให้ Work from home หรือสถาบันการศึกษาก็ยังให้เรียนออนไลน์เป็นหลักอยู่ อีกทั้งหลายคนก็ไม่อยากออกไปไหน

เพราะไม่อยากเพิ่มความเสี่ยงให้ตัวเองอีก เรียกได้ว่าจำเป็นต้องอยู่ติดบ้านเพราะสถานการณ์บังคับเลยก็ว่าได้ ทว่าการอยู่บ้านนาน ๆ ก็เครียด เหงา และรู้สึกไหมคะว่าบางทีก็มีอาการสมองล้า เบลอหนักกว่าปกติ ซึ่งภาวะนี้เรียกว่า Lockdown Brain Fog ที่เป็นกันทั่วโลกเลยล่ะ

อาการ Lockdown Brain Fog หากอยู่บ้านนานๆ

Lockdown Brain Fog คืออะไร

          Lockdown Brain Fog คือ ภาวะที่สมองตื้อ ๆ สมองล้า จากการอยู่บ้านนาน ๆ โดยคำนี้เป็นศัพท์ที่เกิดขึ้นใหม่ในช่วงที่มีการล็อกดาวน์เพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด 19 และเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก จึงพบคนมีอาการ Lockdown Brain Fog กันเยอะพอสมควร

          ทั้งนี้ Lockdown Brain Fog ไม่ใช่คำศัพท์ทางการแพทย์ ไม่ใช่อาการหรือโรคใด ๆ แต่เป็นคำที่ใช้อธิบายอาการสมองตื้อ ๆ เบลอ ๆ คล้ายกับอาการสมองเบลอตอนนอนไม่พอ หรือเกิดอาการ Jet lag ทำให้คิดอะไรช้าลงหรือคิดอะไรไม่ค่อยออก เหมือนสมองทำงานไม่เต็มร้อย

อาการ Lockdown Brain Fog หากอยู่บ้านนานๆ

          สาเหตุของ Lockdown Brain Fog เกิดจาก 3 ปัจจัยด้วยกัน คือ

          1. การขาดสังคม ขาดการติดต่อสื่อสาร

          2. การถูกจำกัดบริเวณ อยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ๆ ไม่ได้ออกไปไหนมาไหนเหมือนปกติ

          3. ความเหงาจากการอยู่ตัวคนเดียว ทำแต่สิ่งเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา

Lockdown Brain Fog อาการนี้รับมือได้          สำหรับใครที่รู้สึกสมองเบลอ ๆ สมองตื้อ คิดงานไม่ค่อยออก และรู้สึกเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกายและจิตวิญญาณ เรามีวิธีรับมือกับ Lockdown Brain Fog มาแนะนำ ลองทำตามนี้เลย

1. พูดคุยให้มากขึ้น

อาการ Lockdown Brain Fog หากอยู่บ้านนานๆ

          หากมีคนร่วมห้อง ร่วมบ้าน ก็หมั่นพูดคุยกันบ่อย ๆ อย่าต่างคนต่างอยู่ ทำกิจวัตรโดยไม่พบปะพูดคุยกันเลย หรือถ้าอยู่ตัวคนเดียว ก็โทร. หรือวิดีโอคอลหาเพื่อน หาญาติ พูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยการพูดคุยนั้นควรต้องเป็นการคุยโต้ตอบกันทั้ง 2 ฝ่ายด้วย

2. เพิ่มพื้นที่การใช้ชีวิตให้ตัวเอง

          การอยู่แต่ห้องนิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไหวไปไหนเท่าไร จะยิ่งส่งผลเสียต่อการทำงานของสมองมากขึ้นได้ ดังนั้นพยายามหาพื้นที่การใช้ชีวิตของตัวเองไว้ด้วย เช่น ตื่นนอนแล้วออกไปกินข้าวเช้า ดื่มกาแฟริมระเบียง หรือลานหน้าบ้าน ระหว่างวันอาจเดินเล่นอยู่ที่โถงหน้าห้อง หรือชมนกชมไม้ที่หน้าต่างหรือบริเวณบ้านตัวเอง

3. ขยับร่างกายให้บ่อย

          เช่น ทำงานบ้าน เดินออกไปทิ้งขยะ เดินไปเติมน้ำ หรือลุกให้บ่อยจะดี โดยเฉพาะคนที่ทำงานที่บ้าน พยายามอย่านั่งติดโต๊ะทั้งวัน พยายามลุกเดินให้มาก ๆ หรือจะลองยืนทำงานก็จะช่วยให้ได้ใช้กล้ามเนื้อและใช้พลังงานมากขึ้นได้

4. ออกกำลังกาย

อาการ Lockdown Brain Fog หากอยู่บ้านนานๆ

          นอกจากระหว่างวันควรต้องขยับเขยื้อนร่างกายแล้ว ก็ต้องหาเวลาออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อด้วย อย่างน้อยควรออกกำลังกายวันละ 15-30 นาที โดยอาจจะแค่แกว่งแขนเดินรอบ ๆ บ้านก็ยังดี

5. หากิจกรรมผ่อนคลาย

          ความเครียดส่งผลเสียต่อการทำงานของสมองและอารมณ์ของเราเป็นอย่างมาก ดังนั้นหากนั่งเฉย ๆ แล้วรู้สึกเครียด เบื่อ เซ็ง ให้รีบพาตัวเองไปทำกิจกรรมที่ชอบเลย อาจจะดูซีรีส์ เล่น TikTok ดูคลิปฮา ๆ อ่านหนังสือที่ชอบ หรือเล่นเกมฝึกสมองก็ได้

6. รับประทานอาหารบำรุงสมอง

อาการ Lockdown Brain Fog หากอยู่บ้านนานๆ

          ในแต่ละวันเราควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และมีประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เช่น ปลา อาหารทะเล น้ำมันมะกอก ผัก-ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เป็นต้น

7. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญในทุกกรณี เพราะแค่นอนน้อยเราก็จะรู้สึกหนักหัว สมองเบลอ ๆ แล้วใช่ไหมล่ะ ดังนั้นก็อย่านอนดึก ถึงแม้จะไม่ได้ออกไปไหน มีเวลานอนทั้งวัน

ก็ควรจัดสรรเวลาทำกิจกรรมและเวลานอนให้เป็นสัดส่วน ที่สำคัญพยายามเข้านอนเวลาเดิมให้ได้เพราะจะช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติดี ตื่นมาก็จะรู้สึกสดชื่น สมองแล่น จากการนอนเต็มอิ่ม

8. ลองทำสิ่งใหม่ ๆ

          ลองหากิจกรรมที่ไม่เคยทำมาทำดูค่ะ เช่น ลองทำอาหารเมนูใหม่ ลองฝึกทักษะใหม่ ๆ อย่างเข้าคอร์สเรียนภาษา หรือคอร์สเรียนโปรแกรมต่าง ๆ เพราะการได้ลองทำสิ่งใหม่จะทำให้สมองเกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เป็นการฝึกสมองไปในตัว

9. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยานอนหลับ

           เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีส่วนทำลายความสามารถในการคิดและการตัดสินใจ ส่วนยานอนหลับก็เป็นยาที่ส่งผลต่อระบบประสาทชนิดหนึ่ง ดังนั้นหากกินบ่อย ๆ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองได้เหมือนกัน ดังนั้นเลี่ยงได้เลี่ยงดีกว่า

ติดตามเรื่องราว หากเป็นโรคภูิมแพ้ สามารถฉัดวัคซีนได้หรือไม่

สนับสนุนโดย แทงบอล บาคาร่า PG SLOT

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *