อาหาร 5 หมู่ คืออะไร ใน 5 หมู่ มีอะไรบ้าง
อาหาร 5 หมู่ คืออะไร ใน 5 หมู่ มีอะไรบ้าง
อาหาร 5 หมู่ คืออะไร ใน 5 หมู่ มีอะไรบ้าง ข้าว แป้ง เผือก มัน จัดเป็นคาร์โบไฮเดรต เนื้อเป็นโปรตีน แล้วอาหารหลัก 5 หมู่ที่เหลือมีอะไรอีกบ้าง เราล่ะกินอาหารได้ครบตามหลักโภชนาการไหม
อาหารหลัก 5 หมู่ เรารู้กันดีว่าเป็นหลักโภชนาการที่เราควรรับประทานเพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารครบถ้วน เพราะอาหารแต่ละหมู่จะมีประโยชน์ในด้านส่งเสริม ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายแบบแตกต่างกันไป
อาหารหลัก 5 หมู่ คืออะไร
อาหารหลัก 5 หมู่ คือ สารอาหารที่สามารถดูดซึมและนำมาใช้ในกระบวนการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย การขับถ่าย และมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตพร้อมด้วยสุขภาพที่ดี โดยตามหลักโภชนาการจะแบ่งสารอาหารออกเป็น 5 ประเภท เรียกว่าอาหารหลัก 5 หมู่นั่นเอง
อาหารหลัก 5 หมู่ มีอะไรบ้าง
สารอาหารที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกายสามารถแบ่งออกได้ 5 ประเภท เป็นอาหาร 5 หมู่ ตามนี้
อาหารหมู่ที่ 1 โปรตีน

อาหารหมู่ที่ 1 ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ ปลา นม ซึ่งจัดเป็นแหล่งสำคัญของสารอาหารประเภทโปรตีน มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ทั้งยังมีส่วนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
โดยเฉพาะนมซึ่งเป็นแหล่งที่ดีของธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส ร่างกายต้องการแร่ธาตุ 2 ชนิดนี้ในการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ที่สำคัญนมยังเป็นแหล่งของวิตามินบี 2 และบี 12 อีกด้วย
ส่วนอาหาร เช่น ถั่วเมล็ดแห้งและธัญพืช ก็จัดเป็นอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพรองลงมา มีส่วนช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายเช่นกัน ทั้งนี้เราควรกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ไข่ ธัญพืช ในปริมาณ 6-12 ช้อนกินข้าวต่อวัน ควบคู่ไปกับการดื่มนม 1-2 แก้วต่อวันเป็นประจำ
อย่างไรก็ตาม เราอาจปรับเปลี่ยนประเภทของโปรตีนได้ตามตัวอย่างข้างล่าง ดังนี้
* กลุ่มเนื้อสัตว์ : ปลาทู 1 ช้อนกินข้าว (ขนาดกลาง ครึ่งตัว) = เนื้อหมู 1 ช้อนกินข้าว = ไข่ไก่ครึ่งฟอง = เต้าหู้แข็ง 1/4 ชิ้น = ถั่วเมล็ดแห้งสุก 2 ช้อนกินข้าว
* กลุ่มนม : นมสด 1 แก้ว = โยเกิร์ต 1 ถ้วย = นมพร่องมันเนย 1 แก้ว
อย่างที่บอกว่าอาหารหมู่ที่ 1 เป็นแหล่งของสารอาหารสำคัญต่อร่างกาย ที่จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตเต็มวัยและมีพัฒนาการที่ดี โดยเฉพาะในเด็กเล็ก การขาดสารอาหารประเภทโปรตีนอาจก่อให้เกิดโรคแคระแกร็น
ส่วนในผู้ใหญ่ที่อดอาหาร การขาดโปรตีนก็อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ดูอ่อนแอและอ่อนแรง ซึ่งหากขาดโปรตีนหนัก ๆ กล้ามเนื้ออาจจะลีบ เส้นผมก็อาจจะแห้งกระด้าง ไม่เงางามด้วยก็ได้
อาหารหมู่ที่ 2 คาร์โบไฮเดรต

อาหารหมู่ที่ 2 ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ขนมจีน ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว เผือก มัน ฟักทอง ข้าวโพด ธัญพืช และแป้งชนิดอื่น ๆ โดยอาหารดังกล่าวมีสารอาหารหลักคือคาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานสำคัญชนิดหนึ่งของร่างกายที่เราควรได้รับประมาณ 8-12 ทัพพี
(1 ทัพพีเท่ากับ 5 ช้อนกินข้าว) หรือคิดเป็นสัดส่วนได้ร้อยละ 60-65 ของพลังงานที่ร่างกายต้องการทั้งหมด แต่ถ้าใครเป็นคนชอบออกกำลังกาย มีกิจกรรมในแต่ละวันมากมาย ก็ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้มากขึ้น เพราะร่างกายต้องใช้พลังงานมากขึ้นนั่นเอง
ทั้งนี้เราอาจปรับเปลี่ยนประเภทของแป้งได้ในแต่ละวัน โดยสามารถเทียบพลังงานได้ ดังนี้
ข้าวสุก 1 ทัพพี = ข้าวเหนียว 1/2 ทัพพี = ขนมจีน 1 จับ = ขนมปัง 1 แผ่น = บะหมี่ 1 ก้อน
คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารให้พลังงานที่สำคัญกับร่างกายของเรา ให้ความอบอุ่น และช่วยทำให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวเพื่อทำงานหรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ซึ่งถ้าหากร่างกายขาดสารอาหารประเภทนี้ ร่างกายก็จะเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
เพราะสมองและกล้ามเนื้อต้องการกลูโคสจากคาร์โบไฮเดรตมาช่วยในการทำงาน หากขาดคาร์โบไฮเดรตไปก็จะทำให้ขาดพลังงานไปด้วย อีกทั้งยังอาจจะรู้สึกหงุดหงิด สมองไม่สดใสเพราะขาดกลูโคสมากระตุ้นการทำงาน ทำให้อารมณ์แปรปรวนง่ายเพราะสารเคมีในร่างกายขาดความสมดุล
อาหารหมู่ที่ 3 แร่ธาตุ ใยอาหาร

อาหารหมู่ที่ 3 เป็นผักใบเขียวและพืชผักชนิดต่าง ๆ ซึ่งแหล่งของสารอาหารประเภทแร่ธาตุ ใยอาหาร และกลุ่มสารพฤกษเคมีที่ผลิตโดยพืช เช่น เบต้าแคโรทีน ที่พบในผักสีเหลือง-ส้ม อย่างแครอต ดอกโสน พริกเหลือง เป็นต้น
อีกทั้งยังพบสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่าไลโคปีน ได้จากผักที่มีสีแดงอย่างมะเขือเทศด้วย ซึ่งสารพฤกษเคมีเหล่านี้มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระอันเป็นสาเหตุของความเสื่อมสภาพในร่างกาย
ติดตามเรื่องราว วิธีเลือกซื้อเครื่องชงกาแฟ ต้องดูอะไรบ้าง
สนับสนุนโดย แทงบอล บาคาร่า PG SLOT