เช็คตัวเองดี ๆ มีอาการแบบนี้ อาจเป็นโรคเบาหวาน
เช็คตัวเองดี ๆ มีอาการแบบนี้ อาจเป็นโรคเบาหวาน
เช็คตัวเองดี ๆ มีอาการแบบนี้ อาจเป็นโรคเบาหวาน โรคเบาหวาน เป็นโรคภัยไข้เจ็บ ที่คนสมัยนี้ตรวจพบกันมากขึ้น เนื่องจาก สภาวะสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้ต้องเร่งรีบอยู่ตลอดเวลา และลืมเอาใจใส่สุขภาพของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็แทบจะไม่รู้เลยว่าตัวเองเป็น นอกเสียจากว่าจะไปตรวจสุขภาพ แล้วจึงจะพบ
แต่กว่าจะพบว่าตัวเอง เป็นเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง ก็ส่งผลมากมายต่อสุขภาพแล้ว แถมพอเป็นแล้วก็ยังไม่รู้อีก ว่าตัวเองเป็นเบาหวานประเภทไหน เพราะโรคเบาหวานนั้นก็ยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
วันนี้เรา ก็เลยจะพาทุกคนที่ยังชอบใช้ชีวิต อยู่บนความเร่งรีบไปทำความรู้จักกับโรคเบาหวานกัน แถมด้วยวิธีการสังเกตตัวเอง ว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ที่เว็บไซต์ health บ่งชี้มาแล้วว่านี่ล่ะ คืออาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อ่านแล้วรีบเช็ก รู้ตัวก่อนจะได้รักษาได้อย่างถูกวิธีค่ะ
* โรคเบาหวาน คืออะไร เกิดจากอะไร
โรคเบาหวาน เป็นความผิดปกติทางร่างกาย ที่เกิดจากการที่ตับอ่อนสร้าง “ฮอร์โมนอินซูลิน” ได้น้อยหรือไม่สามารถสร้างได้เลย ซึ่งฮอร์โมนอินซูลิน ที่ว่าจะคอยช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาล มาใช้เป็นพลังงาน และเมื่อฮอร์โมนอินซูลิน ในร่างกายไม่เพียงพอ ก็จะทำให้เกิดการสะสมของน้ำตาล
ในอวัยวะต่าง ๆ เมื่อน้ำตาลสะสมในเลือดมาก ๆ ก็จะถูกกรองออกมา ผ่านทางปัสสาวะนั่นเอง โดยโรคเบาหวาน เป็นโรคที่เรื้อรังและไม่หายขาด รวมทั้งยังเป็นโรคทางพันธุกรรมอีกด้วย นอกจากนี้ โรคเบาหวาน ยังสามารถเกิดขึ้นได้แม้คนในครอบครัว ไม่มีประวัติโรคเบาหวาน
เพราะปัจจัยต่าง ๆ ในการใช้ชีวิต อย่างเช่น อาหารการกิน สิ่งแวดล้อม การออกกำลังกาย หรือแม้แต่การใช้ยาบางชนิด ก็ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้เช่นกัน

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทที่พึ่งอินซูลิน และประเภทที่ไม่พึ่งอินซูลิน โดยชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือ ประเภทที่ 2 หรือประเภทที่ไม่พึ่งอินซูลิน ซึ่งมีความรุนแรงน้อย และมักพบในกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจจะพบในวัยเด็ก หรือวัยหนุ่มสาวได้ โดย
ประเภทนี้ ตับอ่อนจะสามารถสร้างอินซูลินได้ แต่ก็สร้างได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้ร่างกายจำเป็นต้องได้รับอินซูลินบ้างเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะสังเกตได้ดังนี้
อาการของโรคเบาหวาน
ปัสสาวะบ่อยขึ้น หิวน้ำบ่อยขึ้น
หากคุณเริ่มรู้สึกว่าพักหลัง ๆ คุณลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะในตอนกลางคืน และกระหายน้ำมากกว่าเดิม ขอบอกเลยว่า นั่นเป็นสัญญาณของโรคเบาหวาน นั่นก็เป็นเพราะร่างกายจะต้องขับปริมาณน้ำตาลในเลือด ที่สูงกว่าปกติออกมาทางปัสสาวะ
และร่างกายก็ต้องการน้ำ เพื่อทดแทนของเหลวที่ขับออกไปพร้อมกับน้ำตาล แต่ก็จะเป็นเฉพาะเวลาที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเท่านั้น หากสามารถควบคุมระดับน้ำตาล ให้ปกติได้ อาการเหล่านี้ก็จะเบาบางลง
น้ำหนักลด
การที่น้ำหนักลดผิดปกติ ไม่ใช่เรื่องที่ควรละเลย เพราะนั่นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางชนิดได้ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน การที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลให้น้ำหนักดิ่งลงอย่างรวดเร็วประมาณ 5-10 กิโลกรัม ภายในเวลา 2-3 เดือนเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ผลดีกับร่างกายเลยค่ะ
ส่วนสาเหตุของการที่น้ำหนักลด อย่างรวดเร็วนั้นก็เนื่องมาจาก ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้ร่างกาย เหมือนอยู่ในสภาวะขาดอาหาร และเริ่มดึงโปรตีนจากกล้ามเนื้อ มาใช้เป็นพลังงานแทน นอกจากนี้ การที่ไตทำงานอย่างหนัก ยังส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรีมากเกินไป

หิวบ่อย กินจุบจิบ
ถ้าเกิดอยู่ดี ๆ คุณกลายเป็นคนชอบกินจุบจิบ หรือหิวบ่อยแบบไม่มีสาเหตุละก็ สันนิษฐานได้เลยว่า อาจจะกำลังเป็นโรคเบาหวาน เพราะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ร่างกายก็จะต้องการอาหารเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และจะส่งสัญญาณออกมา เป็นความรู้สึกหิวนั่นเอง
มีปัญหาที่ผิวหนัง
ผิวแห้งแตก หรืออาการคันบนผิวหนัง เป็นสัญญาณพื้นฐานของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยผู้ป่วยเบาหวานบางราย อาจจะมีรอยดำคล้ำ ที่บริเวณคอหรือใต้รักแร้ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ภาวะการณ์ดื้ออินซูลินในร่างกาย ดังนั้น หากพบว่ามีปัญหาผิวหนังดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดค่ะ
บาดแผลหายช้า
หากบาดแผลที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อ แผลถูกของมีคมบาด หรือแม้แต่รอยฟกช้ำนั้น หายได้ช้านั่นเป็นสัญญาณ ที่เห็นได้ชัดว่าคุณกำลังเผชิญ กับโรคเบาหวาน เพราะระดับน้ำตาลในเลือด ที่สูงเกินกว่าปกติของผู้ป่วยเบาหวาน จะไปขัดขวางการทำงานของหลอดเลือด
โดยจะไปสร้างความเสียหาย ในหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณ ที่มีบาดแผลได้น้อย หากไม่ระมัดระวัง หรือไม่รักษาความสะอาดให้ดี ก็อาจจะกลายเป็นแผลติดเชื้อ และเกิดเนื้อตายได้ค่ะ

ติดเชื้อราง่าย
โรคเบาหวาน เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของเราอ่อนแอลง ทำให้ร่างกายจะไวต่อการติดเชื้อ และเชื้อราที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบบ่อยที่สุดก็คือเชื้อราแคนดิดา (Candida) เพราะส่วนใหญ่แล้วเชื้อราชนิดต่าง ๆ
มักจะเติบโตได้ดี ในสภาวะที่อุดมไปด้วยน้ำตาล โดยเฉพาะคุณผู้หญิง อาจติดเชื้อราแคนดิดาได้บ่อยในบริเวณช่องคลอด วิธีการรักษาก็คือ การใช้ยาฆ่าเชื้อ และควบคุมระดับน้ำตาล
ติดตามเรื่องราว ทำยำที่บ้านทานง่าย ๆ ไม่ต้องออกไปไหน