ควรระวัง ข้อมูลส่วนตัวในโลกออนไลน์

ควรระวัง ข้อมูลส่วนตัวในโลกออนไลน์

ควรระวัง ข้อมูลส่วนตัวในโลกออนไลน์ นับถอยหลังไปประมาณ 10 ปี หากยังจำกันได้ การใช้ชีวิตของเราไม่ได้สะดวกสบายเช่นทุกวันนี้ อยากซื้อของต้องออกไปห้าง อยากจ่ายค่าน้ำ ต้องไปการประปา ไปธนาคาร หรือง่ายสุดก็ต้องไปตู้เอทีเอ็ม หิวต้องลุกออกไปหาอะไรกิน แต่ตัดภาพมาที่ปัจจุบัน

เราซื้อของได้แม้กระทั่งนอนอยู่บนเตียงนอน จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ได้ผ่านมือถือเครื่องเดียว รวมถึงถ้าเราหิว เราไม่ต้องลุกออกไปเดินหาอะไรกิน ไม่…แม้แต่จะหยิบเงินสดด้วยซ้ำ

แต่เราได้คำนึงถึงหรือไม่ ว่ายิ่งชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้นเท่าใด ความปลอดภัยเราก็ยิ่งมีน้อยลงเท่านั้น เพราะการจะใช้บริการสะดวกสบายเหล่านี้ได้ ต้องแลกกับการนำ “ข้อมูลส่วนตัว” เข้าไปผูกบัญชีเพื่อการใช้งาน

มีการกดตกลงยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีมากมายหลายสิบข้อ ตัวก็เล็กอ่านก็ยาก ซึ่งก็คงต้องยอมรับกันว่ามีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะอ่าน หรืออ่านผ่าน ๆ ทำให้ไม่เข้าใจชัดเจนว่า หากเรากดยืนยันไปแล้ว ข้อมูลเราจะไปอยู่ส่วนไหนของโลกบ้าง

ทันทีที่เรากดตกลงยอมรับเงื่อนไขเหล่านั้น ข้อมูลของเราจะไปอยู่ที่โลกโลกเดียวเท่านั้น โลกนั้นเรียกว่า “โลกออนไลน์” โลกที่เราก็รู้กันดีว่าใครก็เข้าถึงได้ อยู่ดินแดนไหนบนโลกก็ต่อกันติด และที่สำคัญ สำหรับคนเก่ง ๆ เขาสามารถเข้าถึงข้อมูลประเภท “ความลับ” หรือข้อมูลประเภทที่ต้องเข้ารหัสผ่านจึงจะได้มาด้วยซ้ำ

พฤติกรรมผู้บริโภค คือสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ควรระวัง ข้อมูลส่วนตัวในโลกออนไลน์

หากใครเคยสังเกต จะพบว่าช่วงที่แอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์โซเชียลมีเดียยังไม่เป็นที่นิยมของคนทั่วโลกมากขนาดนี้ การสมัครงานเข้าใช้เว็บไซต์ต่าง ๆ (หรือที่เรียกว่าเป็นสมาชิก)

ส่วนใหญ่แล้วเราจะต้องลงทะเบียนโดยใช้อีเมล และจากนั้นต้องกำหนดรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้เฉพาะเว็บไซต์นั้น ๆ กรอกข้อมูลสารพัดที่เว็บไซต์มีให้กรอก ซึ่งบางเว็บไซต์ก็ไม่ได้จบในหน้าเดียว

หลังจากลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อย ระบบของเว็บไซต์จะแจ้งว่า ระบบจะส่งอีเมลหาเราตามอีเมลที่เราให้ไว้ในการลงทะเบียน จากนั้นให้เราเข้าไปยืนยันตัวตนและเข้าสู่ระบบครั้งแรกผ่านลิงก์ที่ระบบส่งมา เมื่อเรากดเข้าลิงก์นั้นแล้ว ระบบจะพาเรากลับมาที่หน้าเว็บไซต์อีกครั้ง เป็นอันเสร็จขั้นตอนว่าเราเป็นสมาชิกของเว็บไซต์นั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว

แต่…เมื่อกลับมาดูการลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ข้าง ๆ กรอบสี่เหลี่ยมที่แต่เดิมเราเอาไว้กรอกอีเมลนั้นเปลี่ยนไป เพราะจะมีปุ่มให้เราเข้าสู่ระบบ (Log in) ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น Facebook, Line, Instagram หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ

ทำไมถึงมีการเชื่อมโยงการเข้าสู่ระบบของเว็บไซต์ต่าง ๆ ร่วมกับโซเชียลมีเดีย ตั้งแต่ที่เรามีโซเชียลมีเดียใช้กันโดยทั่วไป เราก็จะ “ขี้เกียจ” กรอกข้อมูลทุกอย่างที่เว็บไซต์ต้องการ เมื่อเหลือบไปเห็นว่าสามารถเข้าสู่ระบบผ่าน Facebook ได้ นั่นหมายความว่าแค่เรากดปุ่มนั้น แค่เข้า Facebook เราก็เข้าใช้งานเว็บไซต์นั้น ๆ ได้เช่นกัน

จะดีจะร้าย เกิดขึ้นได้เพราะการยืนยันตัวตน

แน่นอนว่าวิวัฒนาการของมนุษย์ มนุษย์พยายามจะให้ใช้ชีวิตในอนาคตให้ง่ายที่สุด เพราะเรียนรู้จากอดีตมาแล้วว่าการจะสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์หนึ่ง ๆ เราต้องกรอกข้อมูลไม่รู้ตั้งกี่หน้า แต่การเข้าผ่าน Facebook แค่ครั้งเดียว แล้วเราก็เข้าใช้เว็บไซต์อื่น ๆ ได้เลย

โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลเดิม ๆ อีก เพราะการลงทะเบียนเป็นสมาชิกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเหล่านั้น ก็เหมือนกับการลงทะเบียนสมัครสมาชิกเว็บไซต์ทั่วไป ต้องกรอกอีเมล ต้องกำหนดรหัสผ่าน ต้องทำตามขั้นตอนต่าง ๆ จนได้บัญชีการเป็นสมาชิกของโซเชียลมีเดียนั้น ๆ มา

เพราะพฤติกรรมของคนที่ “ขี้เกียจ” จะพิมพ์ข้อมูลเหมือน ๆ กัน 10 ครั้ง เพื่อสมัครเป็นสมาชิก 10 เว็บไซต์ กับการกรอกข้อมูลสมัครใช้ Facebook เว็บไซต์เดียว แต่สามารถเข้าได้อีก 10 เว็บไซต์นั้นง่าย ๆ กว่าเป็นไหน ๆ

การมาของโซเชียลมีเดียจึงทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อน การยืนยันตัวตนผ่านเว็บไซต์จำนวนมาก มีปุ่ม “Log in ผ่าน Facebook” อยู่ข้าง ๆ คนจำนวนไม่น้อยจึงเลือกที่จะลงทะเบียนสมาชิกเว็บไซต์นั้น ๆ ผ่านบัญชีโซเชียลมีเดีย

นั่นเท่ากับว่า นี่เป็นการ “แชร์ข้อมูลส่วนตัว” ที่เราให้ไว้กับ Facebook ไปให้กับเว็บไซต์อีก 10 เว็บไซต์นั้นด้วย โดยมีการยืนยันตัวตนผ่าน Facebook เพื่อให้เว็บไซต์ทั้ง 10 สามารถเข้าถึงข้อมูลของเราผ่านทาง Facebook ของเรา ทำให้การมีตัวตนผ่านเว็บไซต์ Facebook เว็บไซต์เดียว

ทำให้เราไปมีตัวตนในเว็บไซต์อื่น ๆ ด้วย ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใส่ใจหรือให้ความสำคัญอะไรมากนักด้านความปลอดภัย ให้ยืนยันก็ยืนยัน นี่เองที่เป็นช่องโหว่ช่องใหญ่ที่นำไปสู่การโจรกรรมข้อมูลออนไลน์

ที่เห็นได้ง่ายและชัดเจนที่สุดคือเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมา คือ เว็บไซต์ค้นหาร้านอาหาร และรีวิวอาหารเว็บไซต์หนึ่ง ถูกเข้าใช้งานจากผู้ใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต ผู้ใช้งานไม่หวังดีรายนั้นดึงข้อมูลบางส่วนของผู้ใช้งานที่เป็นสมาชิกของเว็บไซต์นั้นไป

หลังจากเกิดเหตุการณ์นั้น ทางเว็บไซต์ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่ามีการจัดการเหตุการณ์นั้นเรียบร้อยแล้ว แต่…ไม่มีแสดงความรับผิดชอบใด ๆ จากทางเว็บไซต์

จากกรณีที่เกิดขึ้นนี้ เราจะเห็นได้ทันทีว่า การยืนยันตัวตนเหมือนกับเหรียญที่มี 2 ด้าน ด้านหนึ่งใช้เป็นการยืนยันว่าตัวเราเองนี่แหละที่เป็นผู้เข้าใช้งาน แต่อีกด้านมันก็เป็นการยืนยันว่าข้อมูลนี้ถูกต้อง ใช้ได้ในการยืนยันตัวตน หากถูกดึงข้อมูลไป ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้คนที่มีข้อมูลเราอยู่ในมือเอาไปทำอะไรก็ได้

ในเมื่อมีการแชร์ข้อมูลส่วนตัวร่วมกันในหลาย ๆ เว็บไซต์ ถ้าแฮกเกอร์สามารถเจาะเข้าสู่เว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งได้ จะเข้าถึงข้อมูลต้นทางได้เช่นกัน หรือที่แย่ไปกว่านั้น คือสามารถเข้าไปดูความเคลื่อนไหวและการทำกิจกรรมของเราได้ในเว็บไซต์ต่าง ๆ เสมือนเราเข้าเองได้ทั้ง 10 เว็บไซต์เลย

ติดตามเรื่องราว อาการนอนน้อย อันตรายกว่าที่คิด

สนับสนุนโดย Joker SlotSa gameSexy GameJoker GameUFABET 72EsportSa gamingSexy gaming, Sa gamingjoker gaming, Joker slot , Slot gameJoker slot, Joker slot

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *