ตำนานพญานาค
ตำนานพญานาค ที่เกี่ยวข้องกับคนไทย
ตำนานพญานาค เรามักจะเห็นสัญลักษณ์ ที่เกี่ยวกับนาคได้เสมอ ในงาน จิตรกรรม ประติมากรรม และหัตถกรรม นาคเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ทางสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะตามอาคารวัดต่าง ๆ หลังคาอาคาร ที่สร้างขึ้นสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ และสถานบันศาสนสถาน ตามคตินิยมที่ว่า นาคยิ่งใหญ่คู่ควรกับสถาบันอันสูงส่ง
เช่น นาคสะดุ้ง ที่ทอดลำตัวยาวตามบันได นาคลำยอง ที่ทำเป็นป้านลมหลังคาโบสถ์ ที่ต่อเชื่อมกับนาคสะดุ้ง นาคเบือน นาคจำลอง และนาคทันต์ คันทวยรูปพญานาค
พญานาคกับตำนานในพระพุทธศาสนา

ตามตำนาน พญานาค มีอยู่ก่อนสมัยพระพุทธเจ้าแล้ว ดังเช่น หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว ได้เสด็จไปตามเมืองต่าง ๆ เพื่อแสดงธรรมเทศนา มีครั้งหนึ่งได้เสด็จออกจากร่มไม้ อธุปปาลนิโครธ ไปยังร่มไม้จิกชื่อ “มุจลินท์” ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข อยู่ 7 วัน คราวเดียวกันนั้นมีฝนตกพรำ ๆ ประกอบไปด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน
ได้มีพญานาคชื่อ “มุจลินท์” เข้ามาวงด้วยขด 7 รอบพร้อมกับ แผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะป้องกันฝนตก และลมมิให้ถูกพระวรกาย หลังจากฝนหายแล้ว คลายขนดออก แปลงเพศเป็นมานพ มายืนเฝ้าที่เบื้องพระพักตร์ ด้วยความศรัทธา อย่างแรงกล้า
ความเชื่อดังกล่าว ทำให้ชาวพุทธสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก แต่มักจะสร้างแบบพระนั่งบนตัวพญานาค ซึ่งดูเหมือนว่า เอาพญานาคเป็นบัลลังก์ เพื่อให้เกิดความสง่างาม และทำให้คิดว่า พญานาค คือผู้คุ้มครองพระศาสดา
นาคสะดุ้ง ที่ราวบันไดโบสถ์นั้น ได้สร้างขึ้นตามความเชื่อถือ “บันไดนาค” ก็ด้วยความเชื่อดังกล่าว แม้ตอนที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ก็โดยบันไดแก้วมณีสีรุ้ง ที่เทวดาเนรมิตขึ้น และมีพญานาคจำนวน 2 ตน เอาหลังหนุนบันไดไว้
ความเชื่อในดินแดนต่างๆ ของไทย
รูปพญานาคแกะสลัก ประดับราชรถพระโกศของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่โรงเมี้ยนโกศ วัดเชียงทอง หลวงพระบางในด้านของดินแดนสยามหรือประเทศไทยของเรานั้น ก็มีความเชื่อเรื่องนาคปรากฏอยู่มากมาย
ภาคเหนือ
มีตำนานเกี่ยวกับพญานาค อยู่เช่นกัน ดังในตำนานสิงหนวัติ ซึ่งเป็นตำนานเก่าแก่ ของทางภาคเหนือเอง “เมื่อเจ้าเมืองสิงหนวัติ อพยพคนมาจากทางเหนือ พญานาคแปลงกายมาช่วยชี้ที่ตั้งเมืองใหม่ และขอให้อยู่ในทศพิธราชธรรม พอตกกลางคืน ก็ขึ้นมาสร้างคูเมืองเป็นเมืองนาคพันธุ์สิงหนวัติ ต่อมา ยกทัพปราบเมืองอื่นได้และรวมดินแดนเข้าด้วยกันจึงเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นโยนกนคร ต้นวงศ์ของพญามังราย ผู้ก่อกำเนิดอาณาจักรล้านนา นั่นเอง”

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นาคล้วนมีส่วนร่วม ในตำนานอย่างชัดเจน เช่น ผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง เชื่อว่า แม่น้ำโขงเกิดจากการแถตัวของพญานาค นอกจากนี้ ยังรวมถึงบั้งไฟพญานาค โดยมีตำนานว่าในวันออกพรรษา หรือเป็นวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พญานาคแห่งแม่น้ำโขงต่างชื่นชมยินดี
จึงเฮ็ด(จุด) บั้งไฟถวายการเสด็จกลับ ของพระพุทธเจ้า จนกลายเป็นประเพณีทุกปี และเนื่องจาก เชื่อว่า พญานาคเป็นเจ้าบาดาล เป็นผู้ให้กำเนิดน้ำ ดังนั้น เมื่อชาวนาจะทำพิธีแรกไถนา จึงต้องดูวัน เดือน ปี และทิศที่จะบ่ายหน้าควาย เพื่อไม้ให้ควาย ลากไถไปในทิศที่ทวนเกล็ดนาค ไม่อย่างนั้น การทำนาจะเกิดอุปสรรคต่าง ๆ ขึ้น
นับว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่อ และเป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งลุ่มแม่น้ำโขงที่แท้จริง เพราะลูกไฟประหลาดหรือที่เรียกว่า “บั้งไฟพญานาค” นี้เกิดขึ้นเฉพาะในเขต จ.หนองคายเท่านั้น ตามแนวแม่น้ำโขง ไม่มีขึ้นที่อื่น แม้จะอยู่ตามริมแม่น้ำโขงเช่นกัน จึงนับได้ว่าหนองคายกับเวียงจันทน์ สมัยก่อนนั้นการปกครอง และการสร้างเมืองโดยพญานาค จึงได้รับอิทธิพลนี้เช่นกัน
ถึงแม้ว่าจะถูกแยกการปกครอง และแยกประเทศออกจากกัน แต่ในความเป็นจริงทางภูมิศาสตร์ก็เป็นพื้นที่เดียวกัน ตำนานประเพณีต่าง ๆ ของคนแถบลุ่มแม่น้ำโขง จะเกี่ยวข้องกับพญานาคกัน ทั้งนั้น เพราะพญานาค หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ทางการเกษตร และความเป็นอยู่ของมนุษย์
ติดตามเรื่องราวของ ความเชื่อ UFO
สนับสนุน โดย Joker Slot, Sa game, Sexy Game, Joker Game, UFABET 72, Esport, Sa gaming, Sexy gaming, Sa gaming, joker gaming, Joker slot , Slot game, Joker slot, Joker slot