fast fashion เทรนเสื้อผ้าตอนนี้

fast fashion เทรนเสื้อผ้าตอนนี้

fast fashion เทรนเสื้อผ้าตอนนี้ เมื่อความต้องการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้การผลิตจำเป็นต้องใช้ความรวดเร็วและได้จำนวนที่มาก (mass product) ตามไปด้วย แน่นอนว่าการจะทำทั้งสองสิ่งให้เกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องกดต้นทุนให้ต่ำลง ทั้งคุณภาพของวัสดุและแรงงาน

นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนต่อต้านฟาสต์แฟชั่น เนื่องจากถูกมองว่าเป็นสินค้าที่ไร้คุณภาพ เน้นใส่ไม่กี่ครั้งก็ทิ้งไป นอกจากนี้ยังใช้เวลาในการออกแบบเพียงแค่สั้นๆ หรือถอดแบบมาจากเสื้อผ้าที่กำลังเป็นเทรนด์ในขณะนั้น

ทำให้เพียงไม่กี่วัน คนทั่วไปก็สามารถเป็นเจ้าของแบรนด์หรูหราในราคาที่ถูกได้ และการออกคอลเลกชั่นใหม่ๆ อยู่ประจำ ก็ทำให้คนอยากซื้อใหม่เรื่อยๆ เพื่อตามเทรนด์ให้ทัน

ฮาซัน มินฮาจญ์ (Hasan Minhaj) นักเดี่ยวไมโครโฟนแนวเสียดสีชื่อดัง อธิบายในรายการ ‘Priot Act’ ตอน The Ugly Truth of Fast Fashion ว่า โดยปกติแล้วแบรนด์เสื้อผ้าเก่า ๆ จะออกเสื้อผ้าจำนวนมาก ๆ ในการเปิดตัวซีซั่นแค่ไม่กี่ครั้ง โดยใช้เวลาหลายเดือนหลายปีในการออกแบบ ผลิต และจัดจำหน่าย

แต่เมื่อถึงยุค 80s แบรนด์ Zara ได้ปฏิวัติโมเดลธุรกิจเสื้อผ้าใหม่ โดยการผสมผสานเทคนิค 2 อย่างเข้าด้วยกัน นั่นก็คือ การผลิตที่สนองความต้อง การของผู้บริโภค ได้อย่างรวดเร็ว (Quick Response Manufacturing) ทั้งขั้นตอนการออกแบบ การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต และการวางจำหน่าย ทำให้พอเวลามีเทรนด์ใหม่ ๆ เข้ามา บริษัทเหล่านี้ก็มักจะเกาะกระแสอย่างรวดเร็วด้วยการถอดแบบดีไซน์นั้น

หากถามว่าสินค้าเหล่านี้ถูกกฎหมายได้อย่างไร คำตอบก็คือ ของถอดแบบส่วนใหญ่ไม่ใช่ของปลอม เพราะของที่ถอดแบบออกมาเป็นเพียงแค่ การดีไซน์ที่คล้ายกับต้นฉบับเท่านั้น ไม่ได้มีการอ้างถึงชื่อของแบรนด์ต้นฉบับ หรือเคลมว่าตัวเองเป็นต้นฉบับแต่อย่างใด

จากเทคนิคข้อแรก จึงทำให้เกิดข้อที่สองตามมา นั่นก็คือการจัดสรรแบบพลวัติ (dynamic assortment) หรือที่เข้าใจง่าย ๆ ก็คือการวางขายเป็นประจำทุกวันนั่นเอง เพราะเมื่อจับกระแสสังคม และผลิตออกมาได้ไว มีหรือที่จะไม่ปล่อยออกมาขาย เพื่อดูว่าอะไรที่จะทำรายได้ได้บ้าง

ซึ่งแบรนด์ Zara เองก็เผยว่า มีการออกเสื้อผ้าใหม่ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และเสาร์ โดยแทนที่จะออกเสื้อผ้าใหม่ ๆ ปีละ 2-4 ครั้งเหมือนแบรนด์อื่น ๆ พวกเขาเลือกที่จะออกถึงปีละ 52 ครั้ง (ข้อมูลจากรายการ The True Cost ปี ค.ศ.2015)

“เราอยากสัมผัสกับความหรูหราโดยไม่ต้องจ่ายราคาเต็ม จึงทำให้ Inditex บริษัทแม่ของแบรนด์ Zara กลายเป็นบริษัทค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก และทำให้อะมันซิโอ ออร์เทกา (Amancio Ortega) ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Zara รวยเป็นอันดับที่ 7 ของโลก ด้วยรายได้เกือบ 70 พันล้านดอลลาร์” ฮาซัน กล่าว

นอกจาก Zara ที่เป็นตัวอย่างที่ชัดที่สุดของฟาสต์แฟชั่น ก็ยังมีแบรนด์อื่นๆ อาทิ H&M Topshop Fashion Nova ที่ถูกเคลมเช่นกัน แม้บางแบรนด์จะไม่ได้ดูเหมือนเป็นฟาสต์แฟชั่นเท่าไหร่นัก เนื่องจากมีดีไซน์ที่เรียบง่าย เหมาะกับการใช้ในระยะยาว และยากต่อการตกเทรนด์

แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าแบรนด์นั้น จะไม่เข้าข่าย เพราะกระบวนการผลิตต่างหาก ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าแบรนด์ไหนเป็นฟาสต์แฟชั่น ที่แท้จริง หรือเรียกได้ว่าเป็นการออกคอลเลกชั่นใหม่เรื่อย ๆ แต่เป็นคอลเลกชั่นที่ดูเรียบง่ายเท่านั้นเอง

fast fashion เทรนเสื้อผ้าตอนนี้

แน่นอนว่าพอโมเดลธุรกิจนี้เกิดขึ้น ก็จะต้องมีพฤติกรรมที่สอดคล้องไปด้วยกัน อะไรที่ทำให้ฟาสต์แฟชั่นอยู่ได้ในอุตสาหกรรมนี้ อนิกา คอสโลสกี (Anika Kozlowski) ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นเชิงอนุรักษ์ และศาสตร์จารย์ด้าน Fashion Design, Ethics and Sustainability มหาวิทยาลัยไรเยอร์สัน

กล่าวว่า ที่จริงแล้ว ฟาสต์แฟชั่นเริ่มจากโครงสร้างธุรกิจหรือระบบทุนนิยมที่ทำงานอยู่บนพื้นฐานของทรัพยากรที่ไม่มีวันหมด จนทำให้หลายคนลืมตระหนักไปว่า การนำทรัพยากรเหล่านั้นมาใช้เรื่อยๆ และทิ้งไป วันหนึ่งมันจะไม่มีเหลืออยู่อีกเลย อนิกายังเสริมอีกว่า ที่จริงมนุษย์เราสามารถเดินหน้าต่อกับแฟชั่นที่ยั่งยืนได้ โดยไม่ลืมความสนุกของการได้สร้างสรรค์

ติดตามเรื่องราว ดื่มเบียร์ ก็มีประโยชน์เหมือนกัน

สนับสนุนโดย Joker SlotSa gameSexy GameJoker GameUFABET 72EsportSa gamingSexy gaming, Sa gamingjoker gaming, Joker slot , Slot gameJoker slot, Joker slot

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *